ฝนตก น้ำท่วม ไฟดูด (ตอนที่ 2)

ฝนตก_น้ำท่วม_ไฟดูด-2

      

      3. หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง ให้หลีกเลี่ยงและรีบแจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ หรือสายด่วน กฟภ. โทร.1129 โดยเร็วที่สุด

      4. อย่าลงไปในน้ำ กรณีมีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณน้ำท่วมขัง ให้หาวัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้าเขี่ยสายไฟออกให้พ้น หรือแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการตัดกระแสไฟฟ้าก่อน จึงค่อยช่วยผู้ประสบอันตราย

      ทั้งนี้ นายแพทย์ธีรวัฒน์ได้ฝากเตือนถึงประชาชนทุกคนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีน้ำท่วม ให้มีการดูแลตนเองตลอดจนบุตรหลาน ผู้สูงอายุ และบุคคลใกล้ชิด ให้ปลอดภัยจากสาเหตุปัจจัยเสี่ยงจากการถูกไฟฟ้าดูดตามคำแนะนำข้างต้น เพื่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักโรคไม่ติดต่อ โทร.0-2590-3967 หรือ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

      ไฟฟ้าช็อตหรือไฟฟ้าดูด (Electric shock) เกิดขึ้นเมื่อมีกระแสไฟผ่านเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งสามารถทำให้เซลล์เนื้อเยื่อภายในและภายนอกไหม้ และเป็นสาเหตุให้อวัยวะถูกทำลายได้ ทั้งนี้ มีชาวอเมริกันเสียชีวิตด้วยการถูกไฟดูด (Electrocution) ประมาณ 1,000 รายต่อปี

      โดยสิ่งที่สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดไฟดูด ได้แก่

  • สายไฟ
  • ฟ้าผ่า
  • เครื่องจักรไฟฟ้า
  • อาวุธไฟฟ้า เช่น เครื่องช็อตไฟฟ้า (Tasers)
  • อุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน
  • ปลั๊กไฟฟ้า (Electrical outlets)

      นอกจากแหล่งของไฟช็อตแล้ว ความรุนแรงของการถูกไฟดูดยังขึ้นกับปัจจัยอื่น ซึ่งได้แก่

  • แรงดันไฟฟ้า (Voltage)
  • ระยะเวลา
  • สุขภาพโดยรวม
  • ทางเดินของกระแสไฟเข้าสู่ร่างกาย
  • ชนิดของกระแสไฟ กล่าวคือ ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating current: AC) มักทำให้เกิดอันตรายได้มากกว่าไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current: DC)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. สคร.7 เตือนประชาชน ระมัดระวังไฟฟ้าดูด โดยเฉพาะพื้นที่มีน้ำท่วม. http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG190906085257695 [2019, September 21].
  2. .
  3. First Aid 101: Electric Shocks. https://www.healthline.com/health/electric-shock [2019, September 21].
  4. .
  5. Electric Shock Causes, Treatment, After Effects). https://www.emedicinehealth.com/electric_shock/article_em.htm#how_does_electric_shock_and_lightning_work [2019, September 21].
  6. .