ปอดอักเสบภูมิไวเกิน (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

ปอดอักเสบภูมิไวเกิน-4

      

การวินิจฉัยโรค (ต่อ)

  • ส่องกล้องหลอดลม (Bronchoscopy)
  • การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อที่ปอดไปตรวจโดยใช้กล้องส่อง (Video-assisted thoracic surgery = VATS)
  • การทดสอบปฏิกิริยาการตกตะกอน (Precipitin tests)

ทั้งนี้ อาจกินเวลานานนับเดือนหรือปีในการวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง เนื่องจากโรคนี้ใช้เวลาในการสะสม และอาจมีโรคอื่นซึ่งมีอาการที่คล้ายคลึงกับโรคนี้ได้

สำหรับการรักษา สิ่งสำคัญคือการหลีกเลี่ยงฝุ่นที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค เช่น ย้ายสถานที่ทำงาน ย้ายบ้าน

ส่วนกรณีที่รุนแรง แพทย์อาจ

  • ให้ยาสเตียรอยด์ เช่น ยา Prednisone ที่อาจต้องให้ยานาน 3 เดือนหรือมากกว่า ซึ่งสเตียรอยด์จะช่วยบรรเทาอาการ (แต่ไม่ได้ช่วยรักษา ทั้งยังอาจมีผลข้างเคียงด้วย เช่น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น กระดูกบาง เป็นต้อกระจก ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ และความดันในลูกตาเพิ่ม)
  • รักษาด้วยการให้ออกซิเจน (Oxygen therapy) เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือด
  • ให้ยาขยายหลอดลม (Bronchodilators) เพื่อช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น
  • ยาโอปิออยด์ (Opioids) เพื่อช่วยเรื่องการหายใจและการไอเรื้อรัง อย่างไรก็ดี หากมีการใช้ยากลุ่มนี้เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เสพติดได้
  • กรณีที่เป็นระยะสุดท้าย แพทย์อาจให้ทำการปลูกถ่ายปอด (Lung transplantation) ซึ่งเป็นวิธีที่มีความยากและเสี่ยงในการหาเนื้อเยื่อของผู้บริจาคและผู้รับบริจาคให้เข้ากัน นอกจากนี้ หลังการผ่าตัด หากไปสัมผัสกับสารกระตุ้นที่เคยเป็นก็อาจทำให้ปอดที่ปลูกถ่ายเสียหายได้เช่นกัน

ทั้งนี้ หากสามารถพบโรคได้ในระยะแรกของการเป็น ก็จะทำให้รักษาหายได้ง่ายขึ้น

ส่วนการใช้ชีวิตกับโรคนี้ จะต้องทำการติดตามการรักษากับแพทย์และดูแลตัวเอง เช่น

  • การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ปอด
  • ออกกำลังกาย
  • เลิกบุหรี่

แหล่งข้อมูล:

  1. Hypersensitivity Pneumonitis. https://www.lung.org/lung-health-and-diseases/lung-disease-lookup/hypersensitivity-pneumonitis/[2020, February 13].
  2. Hypersensitivity Pneumonitis (Extrinsic Allergic Alveolitis). https://www.ccohs.ca/oshanswers/diseases/alveolitis.html [2020, February 13].
  3. Hypersensitivity Pneumonitis. https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/hypersensitivity-pneumonitis [2020, February 13].