ปวดยังไงไร้ความรู้สึก (ตอนที่ 5 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 2 มกราคม 2563
- Tweet
การวินิจฉัยโรค (ต่อ)
การตรวจเลือดเพื่อหา
o ระดับวิตามินบี 12 และโฟเลต
o การทำงานของไทรอยด์ ตับ และไต
o หลอดเลือดอักเสบ (Vasculitis evaluation)
o การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (Oral glucose tolerance test)
o แอนติบอดีหรือสารภูมิต้านทานต่อส่วนประกอบของเส้นประสาท เช่น Anti-MAG antibody
o แอนติบอดีหรือสารภูมิต้านทานต่อโรคเซลิแอค (Celiac disease เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในพืชจำพวกข้าวบารเลย์ ข้าวสาลี และข้าวไรย์ เมื่อรับประทานโปรตีนชนิดนี้จะกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยทำลายผนังลำไส้จนทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ได้ จึงส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาในระบบขับถ่าย)
o โรคไลม์ (Lyme disease เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจากการโดนเห็บกัด)
o โรคติดเชื้อเฮชไอวี / โรคเอดส์ (HIV/AIDS)
o โรคไวรัสตับอักเสบซีและบี (Hepatitis C and B)
การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง (Lumbar Puncture)
ภาพวินิจฉัย (Imaging)
Quantitative Sensory Testing (QST เป็นการตรวจวินิจฉัยที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้สามารถตรวจประเมินสภาพและการทำงานของเส้นประสาทส่วนปลายออกมาเป็นค่าเชิงปริมาณ ทั้งเส้นประสาทประเภท Large fibers และ Small fibers การตรวจแบบ QST เป็นการตรวจแบบ Non-invasive ที่ไม่เกิดอันตรายแก่ผู้ถูกทดสอบ)
สำหรับการรักษาอาจทำได้ด้วย
- การให้ยา
- การให้ยาบรรเทาปวดในกลุ่ม Opioids เช่น ยา Tramadol ยา Oxycodone
- ยารักษาโรคลมชัก เช่น ยา Gabapentin ยา Pregabalin ซึ่งอาจมีผลข้างเคียง คือ ง่วงนอนและเวียนศีรษะ
- ยาทา เช่น ครีมแคปไซซิน (Capsaicin Cream)
- ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants) เช่น ยา Amitriptyline ยา Doxepin และยา Nortriptyline ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ ปากแห้ง คลื่นไส้ ง่วงนอน เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร
- การใช้เครื่องมือกายภาพบำบัด Transcutaneous electrical nerve stimulation (TENS) เพื่อลดอาการปวด
- การบำบัดด้วยวิธี Plasma exchange และการบำบัดโดยการฉีดอิมมูโนโกลบูลิน (Intravenous immune globulin)
- การทำกายภาพบำบัด (Physical therapy)
- การผ่าตัด
สำหรับการป้องกันปลายประสาทอักเสบทำได้ด้วยการ
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรค เช่น โรคเบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง หรือข้ออักเสบรูห์มาตอยด์
- ใช้วิถีชีวิตที่มีผลดีต่อสุขภาพ เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงสารเคมี เป็นต้น
แหล่งข้อมูล:
- What is Peripheral Neuropathy. https://www.foundationforpn.org/what-is-peripheral-neuropathy/ [2019, December 29].
- Peripheral neuropathy. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/peripheral-neuropathy/symptoms-causes/syc-20352061 [2019, December 29].
- Peripheral neuropathy. https://www.nhs.uk/conditions/peripheral-neuropathy/ [2019, December 29].