ปฏิบัติการในโรงพยาบาล - จากมุมมองของผู้บริหาร
ตอนที่ 107 : ความปลอดภัยจากไฟไหม้

สมาคมป้องกันภัยจากไฟไหม้แห่งชาติ (National Fire Protection Association : NFPA) ของสหรัฐอเมริกาได้ออกแนวทางปฏิบัติ (Guidelines) ในโรงพยาบาล สำหรับการป้องกันภัยจากไฟไหม้ ทั้งในเชิงมาตรฐานและความปลอดภัยต่อชีวิต เนื่องจากโรงพยาบาล ประสบปัญหาที่ไม่ซ้ำแบบใคร (Unique)

ปัญหาหลัก คือการไม่สามารถอพยพและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ปัญหาดังกล่าวอาจเลวร้ายลง เนื่องจากลักษณะการจัดผังของอาคาร (Physical layout) ของโรงพยาบาล ซึ่งมักมีจำนวนหลายชั้น (Multiple floors)

กฎหมายอัคคีวิศวกรรม (Fire engineering) และการก่อสร้างในปัจจุบัน ได้กำหนดมาตรฐาน ให้โรงพยาบาลต้องมีมาตรการความปลอดภัยให้ผู้ป่วย อาทิ ข้อกำหนดการสร้างกำแพงเฉลียงทางเดิน (Corridor wall) ที่เหมาะสม การก่อสิ่งกีดขวางไฟ (Fire barrier) และการติดตั้งระบบค้นหาไฟไหม้และการต่อสู้กับไฟ (Fire detection and suppression)

สำหรับกลุ่มผู้ป่วยพิเศษ อาทิ ผู้ป่วยในหอวิกฤต (Incentive care unit : ICU) ในหอวิกฤตหัวใจ (Cardiac care unit) หรือห้องผ่าตัด ต้องมีมาตรการพิเศษที่เรียกว่า “Shelter in place” เนื่องจากโอกาสของความแทรกซ้อน (Complications) และความเสี่ยงจากการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติ (Critical conditions)

มาตรการพิเศษดังกล่าวตั้งอยู่บนข้อสมมุติฐานที่ว่า ผู้ป่วยในโรงพยาบาลไม่มีขีดความสามารถในการอพยพตนเอง ความปลอดภัยของเขา ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ดังนั้น หัวหน้าบุคลากรต้องมั่นใจว่า สมาชิกในทีมงานต้องได้รับการฝึกอบรมในเรื่องการต่อสู้กับไฟขั้นพื้นฐาน อาทิ การใช้เครื่องดับเพลิงที่หิ้วไปมาได้ (Portable fire distinguisher)

นอกจากนี้ ทีมงานยังต้องรับรู้ถึงแผนความปลอดภัยจากไฟไหม้ และมีส่วนร่วมในการซ้อมปฏิบัติการเหตุการณ์จำลองไฟไหม้ (Fire drill) เพื่อให้รับมือได้ในกรณีเกิดไฟไหม้จริง หัวหน้าบุคลากรที่รับผิดชอบต่อความปลอดภัยจากไฟไหม้ ต้องประเมินความเพียงพอของระบบค้นหาและเตือน (Alarm) ไฟไหม้ที่ติดตั้งไปแล้ว

แผนความปลอดภัยดังกล่าว ต้องได้รับการทบทวนและปรับให้ทันกาล (Update) อยู่เสมอ ในเรื่องการซ่อมบำรุง (Maintenance) และการตรวจสอบ (Inspection) ความพร้อมในกรณีฉุกเฉินที่เกิดไฟไหม้ เนื่องจากผู้รับบริการจากโรงพยาบาลนับวันจะเพิ่มการประเมินผู้ให้บริการ

การปะรเมินดังกล่าว ไม่เพียงแต่ในเรื่องระดับและคุณภาพของการบริการเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงประเด็นความปลอดภัยโดยความจำเป็น ซึ่งผู้บริหารโรงพยาบาล จะต้องมีมาตรการป้องกันล่วงหน้า (Pro-active) ในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานรัฐในเรื่องนี้

ผมขอเชิญชวนคุณผู้อ่านให้ (1) เขียนมาสอบถามเนื้อหาที่มีข้อสงสัย เพื่อความกระจ่างขึ้น (2) ชี้แนะข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือสิ่งขาดตกบกพร่อง เพื่อการแก้ไขให้ถูกต้อง (3) แสดงความคิดเห็นในแต่ละตอน ทั้งติและชม เพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น และ (4) แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของคุณผู้อ่าน เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนร่วมกัน ครับ

แหล่งข้อมูล:

  1. Griffin, Donald J. (2012). Hospitals : What They Are and How They Work (4th Ed). Sudbury, MA : Jones & Bartlett Learning.
  2. ประสบการณ์จากเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลประสานมิตร (มูลนิธิ สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย) และศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ (โรงพยาบาลรามาธิบดี)