บุหรี่ไร้คุณ คุณไร้บุหรี่ (ตอนที่ 7 และตอนจบ)

บุหรี่ไร้คุณคุณไร้บุหรี่-7

      

      จากการสำรวจของ U.S. National Health Interview Survey พบว่า ผู้ที่เลิกสูบในทุกระดับของอายุ โดยรวมจะมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูบน้อยกว่าผู้ที่ยังคงสูบต่อไป โดย

  • ผู้ที่เลิกสูบก่อนอายุ 40 ปี จะลดโอกาสในการเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูบได้ประมาณร้อยละ 90 และ
  • ผู้ที่เลิกสูบก่อนอายุ 45-54 ปี จะลดโอกาสในการเสียชีวิตได้ประมาณร้อยละ 66

      นอกจากนี้ การสำรวจยังพบว่า

  • ผู้ที่เลิกสูบระหว่างอายุ 25-34 ปี จะมีอายุนานได้อีกประมาณ 10 ปี
  • ผู้ที่เลิกสูบระหว่างอายุ 35-44 ปี จะมีอายุนานได้อีกประมาณ 9 ปี
  • ผู้ที่เลิกสูบระหว่างอายุ 45-54 ปี จะมีอายุนานได้อีกประมาณ 6 ปี และ
  • ผู้ที่เลิกสูบระหว่างอายุ 55-64 ปี จะมีอายุนานได้อีกประมาณ 4 ปี

      ทั้งนี้ การหยุดสูบจะช่วยให้โอกาสของการฟื้นตัวจากการเป็นโรคดีขึ้น การตอบสนองต่อการรักษาที่ดีขึ้น ลดโอกาสในการเสียชีวิตจากการป่วยเป็นโรคมะเร็งประมาณร้อยละ 30-40 หรือลดโอกาสในการกลับมาเป็นโรคอีก (Recurrence)

      สำหรับการรักษาหรือการเลิกสูบสามารถทำได้โดย

  • พฤติกรรมบำบัด (Behavioral treatments) ซึ่งเป็นการบำบัดที่มุ่งเน้นการควบคุมพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
  • กำหนดเป้าหมายที่แน่ชัดในการเลิกหลีกเลี่ยงอารมณ์ที่ทำให้เกิดความอยากสูบและเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อการเลิกสูบ
  • การให้นิโคตินทดแทน (Nicotine replacement therapies: NRTs) เช่น หมากฝรั่งนิโคติน แผ่นปะนิโคติน สเปรย์พ่นจมูก ยาอม เป็นต้น
  • การใช้ยา Bupropion และ ยา Varenicline ซึ่งเป็นยาที่ FDA ให้การรับรองว่า ช่วยในการบรรเทาอาการถอน (Withdrawal symptoms)
  • ดื่มน้ำให้มากเพื่อช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • การฝั่งเข็ม

      ทั้งนี้ ระหว่างการเลิกสูบอาจทำให้เกิดอาการถอน (Withdrawal symptoms) ดังต่อไปนี้

  • หงุดหงิด
  • ขาดสมาธิ
  • นอนไม่หลับ
  • อยากอาหารมากขึ้น
  • มีอาการอยากสูบ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Harms of Cigarette Smoking and Health Benefits of Quitting. https://www.bbc.com/news/health-48824720[2019, August 19].
  2. Cigarettes and Other Tobacco Products. https://www.drugabuse.gov/publications/drugfacts/cigarettes-other-tobacco-products [2019, August 19].