น้ำมันปาล์ม (Palm oil)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ในบรรดาน้ำมันพืชที่มีใช้กันในปัจจุบัน น้ำมันปาล์ม(Palm oil)จัดว่าเป็นน้ำมันพืชที่มีผู้บริโภคมากที่สุดในโลก โดยมีฐานผลิตอยู่ที่อินโดนีเซียและมาเลเซีย การนำปาล์มมาปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจต้องใช้พื้นที่เพาะปลูกมาก เกิดการทำลายสภาพแวดล้อมพันธุ์พืชจนทำให้ รัฐบาลแต่ละประเทศต้องออกกฎหมายคุ้มครองป่าไม้และสัตว์ป่าต่างๆเพื่อป้องกันการทำลายระบบนิเวศน์ในธรรมชาติ

น้ำมันปาล์ม เป็นน้ำมันพืชที่สกัดได้จากเปลือกและเนื้อในเมล็ดของผลปาล์ม ธรรมชาติของน้ำมันปาล์มที่ได้จากเปลือกของผลจะมีสีน้ำตาลออกแดง ทั้งนี้ด้วยมีองค์ประกอบของสาร Beta-carotene(สารให้สีเหลืองใน พืชผัก ผลไม้ เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ) และมีกรดไขมันอยู่หลายชนิดที่เป็นทั้งกรดไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัว หากเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง น้ำมันปาล์มจะมีลักษณะหนืดมาก

น้ำมันปาล์มที่ใช้เป็นน้ำมันพืช ยังต้องผ่านกระบวนการกลั่นคัดแยกเพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มโอเลอิน(Palm olein, น้ำมันปาล์มที่ทนความร้อนได้สูงถึง250เซลล์เซียส(Celsius) เหมาะนำมาใช้ปรุงอาหาร และทอดอาหาร เพราะลดโอกาสเกิดสารอนุมูลอิสสระจากการทอดลงได้ ) และน้ำมันปาล์มสเตียริน(Palm stearin, น้ำมันปาล์มชนิดเป็นก้อนขาวเมื่ออยู่ที่อุณหภูมิห้อง ใช้ทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่น เนยขาว ครีมเทียม เบเกอรี และน้ำมันไบโอดีเซล) ซึ่งทั้ง2 ชนิดนี้มีราคาจำหน่ายที่แตกต่างกันออกไป

ประโยชน์ของน้ำมันปาล์มมีอะไรบ้าง?

น้ำมันปาล์ม

ประโยชน์ของน้ำมันปาล์ม เช่น

1. น้ำมันปาล์มที่ได้จากการบีบอัดของผลปาล์ม ถูกนำมาใช้เป็นน้ำมันพืชเพื่อกระบวนการผัดและทอดอาหารในครัวเรือน หรือใช้เป็นส่วนผสมในอาหารจำพวกมายองเนส (Mayonnaise) หรือทำเป็นน้ำมันสลัด (Salad oil)

ในน้ำมันปาล์มประกอบไปด้วย

  • กรดไขมันอิ่มตัวเกือบ 50% และ
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่า 40%

นอกจากนี้ยังประกอบด้วย Carotenoid, Sterols, Vitamin E และสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ อย่างเช่น Flavonoids และ Phenolic acid

หากพิจารณาในแง่คุณค่าของสารอาหาร การบริโภคน้ำมันปาล์ม อย่างเหมาะสมย่อมจะก่อให้เกิดผลดีต่อร่างกาย

2. นอกจากการใช้น้ำมันปาล์มมาผลิตเป็นน้ำมันพืชแล้ว ยังมีการนำไปใช้เป็นพลังงานทางเลือกหรือที่เรียกว่าน้ำมันไบโอดีเซล(Biodiesel) จนบางครั้งเกิดกรณีพิพาท ทำให้น้ำมันปาล์มสำหรับบริโภคขาดแคลน

3. ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องจักร(Lubricant) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่มีการปฏิรูปอุตสาหกรรมหนักของประเทศอังกฤษ

4. ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสบู่ ซึ่งหลายประเทศจะคุ้นเคยในชื่อการค้าว่า Sunlight และPalmolive

*หมายเหตุ:

  • น้ำมันปาล์มที่ได้จากการบีบอัดเปลือกของผลปาล์ม เราเรียกว่า น้ำมันปาล์ม (Palm oil) ใช้ในการประกอบอาหารและทำน้ำมันไบโอดีเซล
  • น้ำมันปาล์มที่ได้จากการบีบอัดจากเนื้อเมล็ดจะมีกรดไขมันที่สูง เราเรียกว่า Palm kernel oil น้ำมันปาล์มชนิดนี้จะมีสีจางกว่าน้ำมันปาล์มที่ได้จากเนื้อ เปลือก และมักนำไปใช้อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น ทำสบู่

ขั้นตอนการสกัดน้ำมันปาล์มเป็นอย่างไร?

ขั้นตอนการสกัดน้ำมันปาล์มเป็นดังนี้ คือ

ทั่วไป การผลิตน้ำมันปาล์มจากทลายปาล์ม จะได้ผลผลิตน้ำมันปาล์มประมาณ 20% ขึ้นไป

องค์ประกอบของกรดไขมันอิ่มตัว-ไม่อิ่มตัวในน้ำมันปาล์มเป็นอย่างไร?

องค์ประกอบของกรดไขมันอิ่มตัว-ไม่อิ่มตัวในน้ำมันปาล์มเป็นดังนี้คือ

อนึ่ง น้ำมันปาล์มมีจุดหลอมเหลวที่ 35 องศาเซลเซียส มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว หรือ มีความหนืดสูง มีจุดเกิดควันที่อุณหภูมิ 232 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำมันปาล์ม ทนความร้อนได้ดี สามารถใช้ทอดอาหารที่ต้องการไฟแรงได้

น้ำมันปาล์มดีต่อสุขภาพอย่างไร?

ในน้ำมันปาล์ม ประกอบด้วย สารให้พลังงานคือ กรดไขมันทั้งชนิดอิ่มตัวและชนิดไม่อิ่มตัว รวมถึงอนุพันธ์ของวิตามินอี(Vitamin E) ทำให้นักวิชาการศึกษาและค้นหาประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพจากน้ำมันปาล์มดังนี้ เช่น

  • น้ำมันปาล์มช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) ในเลือด ทั้งนี้เป็นผลจากกรดไขมันชนิด Stearic และ Oleic ทำให้เพิ่มสัดส่วนไขมันดี(HDL) ในร่างกาย จึงทำให้น้ำมันปาล์มลดความเสี่ยงต่อการมีไขมันในเลือดสูง และส่งผลดีต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • ในน้ำมันปาล์มประกอบไปด้วยสาร Carotenes ที่ร่างกายจะเปลี่ยนไปเป็นวิตามินเอ (Vitamin A) ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยให้การทำงานของจอประสาทตา/จอตาให้เป็นไปอย่าง ปกติ และยังช่วยป้องกันอาการตาบอดกลางคืนได้เป็นอย่างดี
  • น้ำมันปาล์มมีส่วนประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างเช่น อนุพันธ์ของวิตามินอี (Vitamin E) ซึ่งมีความสำคัญต่อการป้องกันกระบวนการเกิดสารก่อมะเร็งในร่างกาย วิตามินอียังช่วยลดภาวะหืนของน้ำมันปาล์ม ทำให้มีอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น
  • น้ำมันปาล์มเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน ช่วยให้เกิดความอบอุ่นต่อร่างกาย และการ บริโภคน้ำมันพืชใดๆซึ่งรวมถึงน้ำมันปาล์มอย่างถูกสัดส่วน จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์

น้ำมันปาล์มมีผลข้างเคียงต่อผู้บริโภคอย่างไร?

ผลข้างเคียงของน้ำมันปาล์มต่อผู้บริโภค เช่น

  • น้ำมันปาล์มสามารถให้พลังงานสูงเหมือนกับไขมันชนิดอื่นๆ การบริโภคน้ำมันปาล์มมากไป สามารถทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และเกิดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (เกิดโรคเบาหวาน) นอกจากนี้อาจส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้นโดยทำให้สัดส่วนของไขมันคอเลสเตอรอลรวมต่อไขมันดี(HDL)ผิดไปจากค่ามาตรฐานปกติ

เลือกใช้น้ำมันปาล์มอย่างไร?

ทั่วไป ควรเลือกใช้น้ำมันปาล์มดังนี้

  • ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มที่ใช้เป็นอาหารเสริม หรือใช้เป็นน้ำมันพืชเพื่อปรุงอาหาร ควรตรวจสอบเลขที่ผลิต วัน เดือน ปีที่ผลิต วันหมดอายุ สามารถดูเลข อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข)ที่กำกับมากับฉลากผลิตภัณฑ์จากเว็บไซด์

http://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx [2018,March31]

เมื่อเข้าเว็บไซด์ ให้พิมพ์เลข อย. ที่ระบุในฉลากผลิตภัณฑ์ จะต้องปรากฏชื่อผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ อย.

  • ไม่บริโภคหรือใช้น้ำมันปาล์มที่หมดอายุ หรือมีกลิ่นเหม็นหืน หรือจับตัวเป็นไขหรือ มีตะกอน
  • น้ำมันปาล์มมีจุดเกิดควัน(Smoke point)ที่ 232 องศาเซลเซียส สามารถใช้ทอดอาหารที่ต้องใช้ไฟแรงได้ และต้องไม่ใช้น้ำมันปาล์มที่ทอดซ้ำเพื่อหลีกเลี่ยงพิษต่างๆจากน้ำมันที่ใช้แล้วที่จะเกิดกับร่างกาย เช่น สารก่อมะเร็ง
  • หยุดใช้น้ำมันปาล์มเมื่อเกิดอาการแพ้

เก็บน้ำมันปาล์มอย่างไร?

ทั่วไป ควรเก็บน้ำมันปาล์ม ดังนี้

  • ควรเก็บน้ำมันปาล์มภายใต้อุณหภูมิห้องที่เย็น ไม่แนะนำให้เก็บในตู้เย็น การใส่ตู้เย็นจะทำให้น้ำมันมะพร้าวหนืด และแข็งตัว
  • เก็บน้ำมันปาล์มในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อนและความชื้น
  • เก็บน้ำมันปาล์มให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ทิ้งน้ำมันปาล์มลงในแหล่งน้ำหรือคูคลองตามธรรมชาติ

บรรณานุกรม

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Palm_oil [2018,July28]
  2. https://www.statista.com/statistics/263937/vegetable-oils-global-consumption/ [2018,July28]
  3. http://www.palmoilhealth.org/faq/the-surprising-differences-between-palm-oil-and-palm-kernel-oil/ [2018,July28]
  4. https://www.youtube.com/watch?v=RLNktwDqjr0 [2018,July28]
  5. https://www.healthline.com/nutrition/palm-oil#section4 [2018,July28]
  6. http://www.mpoc.org.my/The_Oil.aspx [2018,July28]
  7. https://www.news-medical.net/health/Is-Palm-Oil-Good-or-Bad-in-Diet.aspx [2018,July28]
  8. https://www.livestrong.com/article/132886-adverse-effects-palm-oil/ [2018,July28]
  9. http://www.mpoc.org.my/The_Oil.aspx [2018,July28]