นิ่วในถุงน้ำดี (ตอนที่ 3)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 5 กันยายน 2562
- Tweet
คนที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีมักไม่รู้ตัวว่าเป็น เพราะยังไม่แสดงอาการหรือที่เรียกว่า Silent gallstones แต่ยังไม่ต้องรับการรักษาแต่อย่างใด จนเมื่ออาการปรากฏซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ อาการปวดที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
- ปวดท้องด้านขวาบน
- มักเริ่มปวดประมาณ 30 นาที หลังกินอาหารที่มีไขมันมาก
- ปวดแบบรุนแรง ตื้อๆ ประมาณ 1- 5 ชั่วโมง
- อาจปวดกระจายไปยังไหล่ขวาหรือหลัง
- ปวดตอนกลางคืนจนต้องตื่น
สำหรับอาการอย่างอื่น ได้แก่
- คลื่นไส้และอาเจียน
- เป็นไข้
- อาหารไม่ย่อย ท้องอืด (Bloating) เรอ (Belching)
- ไม่ถูกกับอาหารมันหรืออาหารที่เลี่ยนๆ
- ตาและผิวเป็นสีเหลือง (Jaundice)
สำหรับการวินิจฉัยโรคแพทย์อาจใช้การ
- อัลตราซาวด์ เป็นวิธีที่นิยมใช้เพราะสามารถเห็นความผิดปกติได้และไม่เจ็บตัวแต่อย่างใด
- Oral cholecystogram (OCG) โดยกินยาที่มีสารย้อมทึบรังสี ก่อนใช้รังสีเอกซเรย์ฉายไปที่ถุงน้ำดี เพื่อช่วยให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
- Cholescintigraphy (HIDA scan) เป็นวิธีการฉีดสีเข้าไปทางเส้นเลือด และสีนี้จะถูกขับออกทางน้ำดี จึงทำให้เห็นลักษณะของท่อน้ำดีว่ามีการอุดตันหรือไม่ (เหมาะในผู้ป่วยที่ค่อนข้างอ้วนที่มีหน้าท้องหนามาก ซึ่งการตรวจอัลตราซาวนด์อาจทำให้มองเห็นถุงน้ำดีได้ไม่ชัดเจน)
แหล่งข้อมูล:
- What Are Gallstones? https://www.emedicinehealth.com/gallstones/article_em.htm [2019, September 4].
- Gallstones. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/7313-gallstones [2019, September 4].
- Gallstones. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gallstones/symptoms-causes/syc-20354214 [2019, September 4].