ต่อมเคียงไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 11 มีนาคม 2561
- Tweet
- ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system)
- โรคต่อมไร้ท่อ โรคระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine disease)
- แคลเซียม เกลือแร่แคลเซียม (Calcium)
- มะเร็ง (Cancer)
- เนื้องอก (Tumor)
- พาราไทรอยด์ฮอร์โมน
- วิตามินดี (Vitamin D or Ergocalciferol)
ต่อมเคียงไทรอยด์ หรือ เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า ต่อมพาราไทรอยด์(Parathyroid หรือ Parathyroid gland) เป็นต่อมหรืออวัยวะที่อยู่ในระบบต่อมไร้ท่อ มีขนาดเล็กประมาณเมล็ดถั่วเขียว โดยทั่วไปมี 4 ต่อม แต่ละต่อมฝังตัวอยู่ใต้ต่อมไทรอยด์แต่ละกลีบซ้าย-ขวา โดยอยู่ทางส่วนหัวและส่วนท้ายของแต่ละกลีบ ซึ่งแต่ละต่อมมีน้ำหนักประมาณ 25-50 มิลลิกรัม และมักมีขนาดประมาณไม่เกิน 5 มิลลิเมตร
หน้าที่ของต่อมพาราไทรอยด์ คือ สร้างฮอร์โมน ชื่อ พาราไทรอยด์ฮอร์โมน (Parathyroid hormone) หรือเรียกอีกชื่อว่า ฮอร์โมน พาราทรอโมน (Parathormone) ซึ่งมีหน้าที่
- ควบคุมการทำงานของเกลือแร่/แร่ธาตุ แคลเซียม และ ฟอสฟอรัส (Phosphorus)ที่อยู่ในรูปของ ฟอสเฟต (Phosphate)
- ปรับปริมาณเกลือแร่ทั้งสองให้อยู่ในสมดุล
- ควบคุมการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก
- ช่วยการทำงานของระบบประสาท
- ช่วยการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
- ช่วยการคงสมดุลของแคลเซียมและฟอสเฟตผ่านทางไต
- ช่วยการดูดซึมแคลเซียมจากทางเดินอาหาร
- และช่วยกระตุ้นให้วิตามิน-ดี (วิตามินที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการคงสมดุลของแคลเซียมและการสร้างกระดูก) ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ต่อมพาราไทรอยด์ ไม่ได้เป็นอวัยวะสำคัญต่อการคงชีวิต ดังนั้นจึงสามารถผ่าตัดออกได้ โดยหลังการผ่าตัด แพทย์จะให้ผู้ป่วยกินแคลเซียม และวิตามิน-ดี ชดเชยตลอดชีวิต
ต่อมพาราไทรอยด์ ไม่ค่อยเกิดโรค แต่ถ้าเกิดโรค โรคที่พบได้บ่อย คือ เซลล์ของต่อมพาราไทรอยด์เจริญเกินปกติ (Parathyroid hyperplasia) หรือโรคมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ (พบได้น้อยมากๆๆ) ซึ่งทั้ง 2 โรคจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชักจากมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
อนึ่ง อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง “ พาราไทรอยด์ฮอร์โมน”
บรรณานุกรม
- Wieneke,J, and Smith, A. (2008).Head Neck Pathol.2,305-308
- http://en.wikipedia.org/wiki/Parathyroid_gland [2018,Feb17]
Updated 2018,Feb17