ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 31 ตุลาคม 2562
- Tweet
ในการวินิจฉัย แพทย์อาจซักประวัติ เช่น ประวัติการเป็นไข้ การเดินทางเมื่อไม่นานมานี้ การสัมผัสกับแมวหรือสัตว์อื่นในระยะที่ผ่านมา นอกจากนี้อาจอาศัยการตรวจดังต่อไปนี้
- การตรวจเลือดเพื่อดูการติดเชื้อ
- การนำตัวอย่างเนื้อเยื่อของต่อมน้ำเหลืองหรือน้ำเหลืองไปส่องกล้องจุลทรรศน์ (Lymph node biopsy)
- การเพาะเชื้อจากน้ำเหลืองเพื่อหาชนิดของเชื้อโรค
- การเอ็กซเรย์หรือทำซีทีสแกนเพื่อหาก้อนเนื้อที่อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ
สำหรับการรักษาจะขี้นกับปัจจัยดังต่อไปนี้
- อายุของผู้ป่วย
- สุขภาพโดยรวมและประวัติสุขภาพ
- การแพร่กระจายของเชื้อ
- ความเหมาะสมต่อการใช้ยาหรือวิธีการที่ใช้รักษา
- ความเห็นชอบของผู้ป่วย
ทั้งนี้ การรักษาอาจประกอบด้วย
- การให้ยาปฏิชีวนะด้วยการกินหรือการฉีดเพื่อจัดการกับเชื้อแบคทีเรีย
- การให้ยาลดปวดแก้ไข้
- การให้ยาลดบวม
- การผ่าเอาหนองออก
- การประคบเย็นเพื่อลดอาการอักเสบและปวด
ส่วนใหญ่อาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบจะหายได้เร็วหากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ดีอาจใช้เวลานานในการรอให้ต่อมหายบวม
กรณีที่ไม่ทำการรักษา อาการแทรกซ้อนของต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
- เป็นหนอง
- โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis)
- โรคฝีคัณฑสูตร (Fistulas)
- ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis)
ในส่วนของการป้องกันต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ทางที่ดีที่สุดก็คือ การสังเกตุตัวเองเมื่อเริ่มมีอาการบวมใต้ผิวหนัง ให้รีบไปพบแพทย์
แหล่งข้อมูล:
- Lymphadenitis. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/lymphadenitis [2019, October 30].
- Lymph Node Inflammation (Lymphadenitis). https://www.healthline.com/health/lymphadenitis [2019, October 30].
- Lymphadenitis. https://medlineplus.gov/ency/article/001301.htm [2019, October 30].