ตึกเป็นพิษ (ตอนที่ 2)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 28 เมษายน 2563
- Tweet
ที่สำคัญคนเมืองยุคนี้ต้องปรับตัวพฤติกรรมตามหลัก 4Es ตั้งแต่ Eating (การกิน) Exercise (การออกกำลังกาย) Environment (ปรับสภาพแวดล้อมรอบตัว) Emotion (ปรับอารมณ์) ให้ถูกสุขลักษณะ และติดตามข่าวสารอยู่เสมอ
หากไปยังสถานที่ใดที่ค่าดัชนีเตือนว่าต้องระวัง ไม่ควรลืมพกพาหน้ากากอนามัยให้เป็นนิสัยและยิ่งเมื่อต้องเข้าไปอยู่ในที่ที่มีฝุ่นมากต้องใส่หน้ากากแบบ N95 ซึ่งป้องกันฝุ่น PM 2.5 และเชื้อไวรัสได้ ส่วนในกรณีผู้มีประวัติป่วยเป็นภูมิแพ้ ต้องพกยาติดตัวไว้ตลอด เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าจะต้องไปเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงเมื่อใด
โรคตึกเป็นพิษ (Sick building syndrome) เป็นภาวะที่มีสาเหตุเกิดจากการอยู่ในตึกหรือพื้นที่ปิด (Enclosed space) ซึ่งมีคุณภาพอากาศที่แย่ โดยหลักสำคัญคือ จะมีอาการเมื่ออยู่ในบริเวณนั้นและอาการจะดีขึ้นเมื่อออกจากบริเวณนั้น อย่างไรก็ดี การวินิจฉัยอาจทำได้ยากเพราะมีหลากหลายอาการและบางอาการก็มีลักษณะเหมือนโรคอื่น เช่น โรคหวัด
ทั้งนี้ อาการของโรคตึกเป็นพิษสามารถมีผลกระทบต่อผิวหนัง ทางเดินหายใจ ระบบสมองและประสาท (Neurological systems) ได้ โดยอาการของโรคตึกเป็นพิษในแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ซึ่งอาการส่วนใหญ่ที่ปรากฏ ได้แก่
- ระคายคอ
- หายใจลำบาก
- แน่นหน้าอก
- คัดจมูก
- อาการแพ้ เช่น จาม
- แสบจมูก
- ผิวหนังแห้ง เป็นผื่น
- ปวดศีรษะ
- มึนศีรษะ
- ไม่มีสมาธิ
- ขี้ลืม
- อ่อนเพลีย
- หงุดหงิด
- คลื่นไส้
- ตาแห้ง ปวดตา
- ปวดร่างกาย
- เป็นไข้
- หนาวสั่น
แหล่งข้อมูล:
- โรคตึกเป็นพิษ ภัยคนเมือง 2020https://www.komchadluek.net/news/regional/408000[2020, April 26].
- Sick Building Syndrome. https://www.healthline.com/health/sick-building-syndrome [2020, April 26].
- Sick building syndrome. https://www.nhs.uk/conditions/sick-building-syndrome/ [2020, April 26].