1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 46

ทำไมหุ้นโรงพยาบาลถึงน่าลงทุน 

นอกจากจำนวนประชากร (Population) เพิ่มมากขึ้น การก้าวเข้าสู่ (Entering) สังคมผู้สูงวัย (Aging society) ความต้องการ (Demand) รับบริการทางการแพทย์ (Medical service) ที่มีมาตรฐาน (Standard) แล้ว การเกิดโรคใหม่ๆ (Emerging disease) ถือเป็นโอกาสการเติบโต (Growth opportunity) ของธุรกิจโรงพยาบาล ทำให้หุ้นกลุ่มนี้ได้รับความสนใจ (Interest) จากนักลงทุน (Investor) มากขึ้น เพราะมองว่าเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง (Security) และความเสี่ยงต่ำ (Low risk) และเป็นสิ่งจำเป็น (Necessity) ในการดำเนินชีวิต

1. เป็นธุรกิจที่มีรายได้สม่ำเสมอ อันเป็นลักษณะ (Nature) ของหุ้นโรงพยาบาลในภาพรวม (Overall) เพราะในแต่ละโรงพยาบาลมีฐานลูกค้า (Customer base) ที่แตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกโรงพยาบาลมีเหมือนกัน (Similar) คือ รายได้ระยะยาว (Long-term stream) ที่เกิดจากการใช้บริการของลูกค้าหรือผู้ป่วย โดยในตอนแรก (Initial) หลังจากลงทุนสร้างอาคาร (Building) และอุปกรณ์ (Equipment) เรียบร้อยแล้ว ที่เหลือจะเป็นการเก็บรายได้จากผู้ใช้บริการล้วนๆ ซึ่งแต่ต่างจากธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Real estate) เพื่อขาย ที่ต้องมีการสร้างสิ่งก่อสร้าง (Construction) เรื่อยๆ เพื่อรักษาอัตรากำไร (Profitability)

  1. เป็นธุรกิจที่ความเสี่ยงน้อยซึ่งมีชื่อเรียกตามภาษานักลงทุนว่า เป็นหุ้น Defensive Stock ข้อดีก็คือ ในยามที่ตลาดหุ้นกำลังอยู่ในหายนะ (Disaster) หุ้นโรงพยาบาลดีๆ ก็ไม่ได้ร่วงลงมามากนัก (Dramatic drop) ตรงกันข้ามหากตลาดหุ้นกำลังรุ่งพุ่งแรง (Sky-rocketing) หุ้นโรงพยาบาลก็ไม่ได้พุ่งปรี๊ดทะลุปรอทเช่นเดียวกัน เรียกได้ว่า เป็นหุ้นปลอดภัย (Safety) ถือกันได้ยาวๆ
  1. เป็นธุรกิจที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งอันเป็นผลต่อเนื่องจากข้อ 1 ที่ลงทุนครั้งเดียว แล้วจะมีกระแสเงินสด (Cashflow) ตามมาเรื่อยๆ สุดท้ายก็สามารถคืนทุน (Pay back) ได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่สร้างความมั่นคง (Solid) ให้สถานะทางการเงิน (Financial status) และความมั่งคั่ง (Wealth) แก่ธุรกิจอย่างยั่งยืนได้ (Stability) โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบ (Compare) กับอุตสาหกรรมอื่นๆ

ในอีกมิติหนึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า ในช่วงที่เหลือของปี พ.ศ. 2567 รายได้ผู้ป่วยต่างชาติ (Foreign patient) ซึ่งรวมผู้ป่วยต่างชาติที่อาศัยหรือทำงานในไทย (Expatriate) และผู้ป่วยที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามารับการรักษา (Fly-in/medical tourism) ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน (Private hospital) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Securities Exchange of Thailand: SET) น่าจะเติบโตชะลอลง (Slow down)

ส่วนหนึ่งเป็นผลของการทยอย (Gradual) ปรับฐาน (Base adjustment) สู่สถานการณ์ก่อนการระบาดไปทั่วโลก (Pre-pandemic) ของไวรัสโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจโลก (World economy) ที่มีแนวโน้ม (Trend) ชะลอตัว กระทบต่อกำลังซื้อ (Purchasing power) ของผู้ป่วยต่างชาติบางส่วน

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงคาดว่า รายได้ผู้ป่วยต่างชาติรวมของโรงพยาบาลเอกชนในปี พ.ศ. 2567 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.7 หมื่นล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อน ราว 8.0 ถึง 10.0% กล่าวคือ การเติบโตชะลอลงเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2565 ถึง 2566 ที่ขยายตัว (Expansion) ได้ดี เพราะการปรับฐานสู่สถานการณ์ก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.mitrade.com/th/insights/shares/investing-tips/best-hospital-stocks [2024, November 30].
  2. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Medical-Tourism-CI3442-FB-27-10-2023.aspx [November 30].