1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 39

ตามแผนยุทธศาสตร์ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) [Bangkok Dusit Medical Services: BDMS] มีนโยบายจะเพิ่มจำนวนเตียงให้ได้ไม่ต่ำกว่า 9,000 เตียง ภายในปี พ.ศ. 2569 ถึง พ.ศ. 2570 จากเดิมที่มีประมาณ 8,700 เตียง (ณ. ปี พ.ศ. 2566) โดยจะเปิดเพิ่มหลายแห่ง เช่น

  • รพ. พญาไท ศรีราชา จำนวน 100 เตียง (ส่วนต่อขยาย (Expansion) เพื่อรับประกันสังคม (Social security)
  • รพ. กรุงเทพ ปลวกแดง จำนวน 239 เตียง (เพื่อรับประกันสังคม) ปี พ.ศ. 2567
  • รพ. เด็ก สมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล จำนวน 102 เตียง ในบริเวณ รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ ขณะนี้เริ่มก่อสร้างแล้ว
  • รพ. พญาไท 1 จะขยายเตียงเพิ่ม 160 เตียง ปี 2568
  • รพ. กรุงเทพ เชียงใหม่ จะเพิ่มอีก 75 เตียง

โดยเมื่อกลางเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 BDMS เพิ่งเปิด รพ. กรุงเทพ มะเร็ง ระยอง เป็นศูนย์มะเร็ง (Cancer center) ของกลุ่มในภาคตะวันออก และรองรับกลุ่มผู้ป่วยทั้งประกันสังคม และผู้ป่วยพรีเมี่ยม (Premium) โดยจะเป็นต้นแบบ (Prototype) ที่จะขยายไปตามต่างจังหวัด หรือหัวเมืองใหญ่ๆ (Urban provinces)

เช่นเดียวกัน กลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ที่ใช้ชื่อว่า Bangkok Chain ก็ได้กางแผนลงทุนทุ่มงบประมาณ (Investment budget) เพื่อรองรับธุรกิจโรงพยาบาลที่ฟื้นตัวกลับมา (Recovery) มีเป้าหมายจะเปิดเพิ่ม 5 สาขา ภายใน 4 ถึง 5 ปีข้างหน้า จากเดิมที่มี 15 ถึง 16 สาขา

ตัวอย่างเช่น รพ. เกษมราษฎร์ สุวรรณภูมิ (268 เตียง) จ. สมุทรปราการ ใช้งบประมาณลงทุนประมาณ 1,600 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในปี พ.ศ. 2567 เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2569 รวมทั้งยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility study) เพื่อเปิดสาขาในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Easter Economic Corridor) และมีแผนจะลงทุนสร้างโรงพยาบาลใหม่อีก 1 แห่ง ที่พัทยา เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุง (Renovate) และยกระดับสาขาต่าง ๆ เช่น รพ. การุญเวช ปทุมธานี เพื่อยกระดับเป็น รพ. เกษมราษฎร์ ปทุมธานี ในอนาคต การปรับปรุงห้องพักผู้ป่วยใน (Inpatient ward) รพ. เกษมราษฎร์ บางแค และ รพ. เกษมราษฎร์ ประชาชื่น เพื่อยกระดับประเภทห้องพักให้หลากหลาย (Variety) รองรับความต้องการของผู้ป่วยเงินสด

รวมทั้งการเปิดศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง (Medical specialty center) เพื่อรองรับการให้บริการแบบ “เบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว” (One-stop-service) และลดการส่งต่อ (Referral) ผู้ป่วย เช่น การตั้งศูนย์มะเร็งรังสีรักษา (Therapeutic radiation), การเพิ่มศูนย์หัวใจ (Heart center), ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation medicine) เป็นต้น

ขณะที่กลุ่ม รพ. สินแพทย์ ก็ได้ประกาศแผนการขยายสาขาทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล (Satellite) และต่างจังหวัด โดยมีแผนจะลงทุนขยายสาขาเพิ่มปีละ 1-2 สาขา ด้วยงบประมาณลงทุน (Investment budget) สาขาละ 2,000 ถึง 3,000 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน) อันได้แก่

  • รพ. สินแพทย์ สาขารังสิต องครักษ์ (คลอง 3)
  • รพ. สินแพทย์ สาขา ถนนกาญจนาภิเษก เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ-นนทบุรี บริเวณวัดศรีประวัติ (บางกรวย จ.นนทบุรี)
  • รพ.สินแพทย์ สาทร นางลิ้นจี่ ที่เน้นการจับกลุ่มลูกค้าระดับบน (Upscale) และลูกค้าชาวต่างประเทศ (Foreigner)

ยิ่งไปกว่านั้น ก็ยังมีสาขาที่อยู่ในท่อลำเลียง (Pipeline) อีก เช่น สินแพทย์ สาขาพหลโยธิน 44 (เช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์) สินแพทย์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ (บริเวณด้านข้าง รพ. สินแพทย์ รามอินทรา) เป็นต้น คาดว่าจะเปิดให้บริการในต้นปี พ.ศ. 2568 รวมถึงการเข้าไปปักธงในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่ จ.ระยอง ซึ่งมีกำลังซื้อสูง

นอกจากนี้ ก็มีบางสาขาที่จะมีการปรับปรุง (Renovate) หรือการลงทุนก่อสร้างส่วนขยาย เช่น รพ. สินแพทย์ เสรีรักษ์ ที่จะมีการเพิ่มสิ่งอํานวยความสะดวก (Facility) ต่างๆ เช่น พลาซ่า (Plaza), ร้านค้า (Retail store), และอาคารจอดรถ (Parking building) 

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.prachachat.net/marketing/news-1473625 [2024, August 24].
  2. https://eiathailand.onep.go.th/consideration-eia/environmental-impact-assessment/ [2024, August 24].
  3. https://eeco.or.th/th/comprehensive-infrastructure [2024, August 24].