1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 32

ttb analytics แนะธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน (Private hospital) พุ่งเป้า (Target) ไปที่ตลาดในประเทศ (Domestic), กลุ่มผู้มีประกันสังคม (Social security), กลุ่มผู้ทำประกันสุขภาพ (Health insurance) ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และตลาดต่างประเทศ กลุ่มท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical tourism)

จากข้อมูลสถิติโครงสร้าง (Structure) การใช้สวัสดิการทางการแพทย์ (Medical welfare) ของคนไทย พบว่าในช่วงกว่า 1 ทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2564) แนวโน้มคนไทยใช้บริการการแพทย์ด้วยการใช้สวัสดิการประกันสังคมและทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกัน (Insurer) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยในปี พ.ศ. 2564 สัดส่วน (Proportion) การใช้สวัสดิการประกันสังคมและทำประกันสุขภาพรวมกันมากถึง 24.5% ของการใช้สวัสดิการทางการแพทย์โดยรวม (Overall) โดยเพิ่มขึ้นจาก +15.7% ในปี พ.ศ. 2554 ชี้ถึงความต้องการ (Demand) ใช้บริการทางการแพทย์ที่มากขึ้นจากแรงงาน (Labor) ที่อยู่ในระบบประกันสังคมกว่า 11 ล้านคน และประชาชนที่ยินดีจ่ายประกันสุขภาพเพื่อความคุ้มครอง (Coverage) จากการเจ็บป่วย

ทั้งนี้ ttb analytics ประเมินแนวโน้มพื้นที่ EEC อันได้แก่ ระยอง, ชลบุรี, และฉะเชิงเทรา จะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ (Potential) ในอนาคต (Future) สำหรับธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากเป็นฐาน (Base) รองรับเป้าหมายอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ที่สำคัญของประเทศ 

ในปี พ.ศ. 2564 ในพื้นที่ EEC มีประชากรไทยรวมจำนวน 3,059,193 คน โดยมีแรงงานไทย (ตามมาตรา 33) จำนวน 1,478,343 คน และแรงงานต่างด้าวจำนวน 244,007 คน และในปี พ.ศ. 2565 คาดว่าจะมีแรงงานรองรับอุตสาหกรรม New S-Curve เพิ่มขึ้นอย่างน้อยอีกกว่า 3 แสนคน นับเป็นโอกาสธุรกิจ (Business opportunity) ของโรงพยาบาลเอกชนสำหรับตลาดในประเทศ

ด้านตลาดต่างประเทศ ประเมินว่าธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนจะได้รับอานิสงส์ (Benefit) จากการเปิดประเทศ โดยคาดว่าปี พ.ศ. 2565 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยรวมกว่า 9.5 ล้านคน ส่วนใหญ่มาจากชาวเอเชีย, ยุโรป, และตะวันออกกลาง และปี พ.ศ. 2566 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยจำนวน 15 ถึง 20 ล้านคน

ก่อนการระบาดของไวรัสโควิด-19 นักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นฐานรายได้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทย ถือเป็นโจทย์ท้าทายที่ภาครัฐ (Public sector), ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว (Tourism entrepreneur), และผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชน จะร่วมมือกันในการดึงดูด (Attract) นักท่องเที่ยวเหล่านั้นให้กลับมาเที่ยวในเมืองไทยและใช้บริการทางการแพทย์ดังเดิม เพื่อดันรายได้จากชาวต่างชาติให้กลับคืนมา

เว็บไซต์ Statisca รายงานว่า ตลาดโรงพยาบาลในประเทศไทยคาดว่า จะเติบโตถึง 10.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 374.15 พันล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2567 แต่อัตราเฉลี่ยจะเติบโตชะลอลงใน 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2567 – 2571) ณ 4.17% ต่อปี ซึ่งจะส่งผลให้ขนาดของตลาด (Market volume) อยู่ที่ 12.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 440.65 พันล้านบาท)

ในปี พ.ศ. 2567 เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั้งประเทศ รายได้ตลาดโรงพยาบาลในประเทศไทย อยู่ที่ 148.80 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5,208 บาท) ต่อหัว (Per capita) และเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา รายได้ตลาดโรงพยาบาล อยู่ที่ 1,476 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 51.66 ล้านล้านบาท) หรือประมาณเกือบ 1,500 เท่าของประเทศไทย

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.ttbbank.com/th/analytics/business-industry/tourism-healthcare/20220922-ttb-analytics-private-hospital-outlook2022 [2024, May 18].
  2.  [2024, May 18].