1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 29
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 22 มีนาคม 2567
- Tweet
โรงพยาบาลเอกชนที่มีแผนขยายจำนวนเตียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 มีเพิ่มเติมดังนี้
- รพ. อินทรรัตน์ จำนวน 152 เตียง
- รพ. หทัยราษฎร์ จำนวน 126 เตียง
- รพ. วัฒนแพทย์ กระบี่ จำนวน 59 เตียง
ดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน (Medical service competitiveness index) ดูจากปัจจัยดังต่อไปนี้
- สภาพแวดล้อมและกลยุทธ์ของธุรกิจ (Business environment and strategy)
- ปัจจัยการผลิต (Factors of production)
- เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and innovation)
- การผลิต
- ความยั่งยืน (Sustainability)
- การบริหาร (Management)
- ผลิตภัณฑ์และตลาด (Product and market)
- ผลงาน (Performance)
- โอกาสในอนาคต (Future prospect)
ซึ่งประเทศไทยด้อยกว่าสหรัฐอเมริกาในทุกข้อ ยกเว้นข้อ 7 และด้อยกว่าญี่ปุ่น ในทุกข้อ ยกเว้นข้อ 2, 6, และ ข้อ 8 แต่เด่นกว่าประเทศอื่นๆ (สิงคโปร์, มาเลเซีย, และอินเดีย) ในข้อ 2, 5, 6, 7, 8, และ 9
ดัชนีชี้วัดความพร้อมในการให้บริการทางการแพทย์ (Medical service readiness index) อันประกอบด้วย
- กลยุทธิ์และการจัดองค์กร (Strategy and organization)
- โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart hospital)
- ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Smart operations)
- บริการอัจฉริยะ (Smart service)
- บริการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-driven service)
- ความสามารถของบุคลากร (People’s capability)
- สายโซ่อุปทาน (Supply chain)
ในภาพรวม (Overall) ประเทศไทยได้คะแนน 2.0 [จากคะแนนเต็ม 4.0] ในปี พ.ศ. 2558, เพิ่มขึ้นเป็น 2.7 ในปี พ.ศ. 2562, และเพิ่มขึ้นเป็น 3.3 ในปี พ.ศ. 2567
แหล่งข้อมูล –
- https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Services/Private-Hospitals/IO/io-Private-Hospitals [2024, February 22].
- https://www.imd.org/centers/wcc/world-competitiveness-center/rankings/ [2024, February 22].