1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 27

รพ. พระราม 9 

  • ให้บริการการแพทย์ทางไกล (Tele-medicine) ในการรักษาผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง (Chronic) ผ่านซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App) ชื่อ Doctor Anywhere
  • ให้บริการขับรถเข้ามา (Drive-in) ณ จุดที่กำหนดเฉพาะที่ (Site) สำหรับผู้ต้องการทดสอบเลือด (Blood test) หรือฉีดวัคซีน (Vaccine injection)
  • ให้บริการถึงบ้านผู้ป่วยในการทดสอบเลือดหรือฉีดวัคซีน
  • ให้บริการคัดกรอง (Screen) นอกโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่หายใจลำบาก โดยส่งตรงไปยังหน่วยงาน ARI (= Acute respiratory infection) เพื่อแยกผู้ป่วยติดเชื้อมิให้มีโอกาส (Exposure) ไปแพร่เชื้อ แก่ผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล

ส่วนโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆ เช่น รพ. สมิติเวช, รพ. พญาไทย, รพ. รามคำแหง, รพ. เกษมราษฎร์, รพ. สินแพทย์ ฯลฯ ก็ให้บริการในลักษณะเดียวกัน

อัตราค่ารักษาพยาลสำหรับผู้เข้ามารับบริการต่างชาติเชิงท่องเที่ยว (Medical tourist) ได้แก่

  • ปลูกถ่ายอวัยวะ (Organ transplant) 2,010,000 บาท
  • รักษาโรคมะเร็ง (Cancer treatment) 705,521 บาท
  • ผ่าตัดแปลงเพศ (Sex re-assignment surgery) 502,761 บาท
  • รักษาการเจริญพันธุ์ (Fertility treatment) 484,562 บาท
  • รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ (Treatment for cardio-vascular disease) 139,989 บาท
  • รักษาอาการกล้ามเนื้อและกระดูก (Treatment for musculoskeletal condition) 123,150 บาท
  • งานทันตกรรม (Dental work) 29,023 บาท
  • ตรวจสุขภาพ (Health check) 26,254 บาท
  • รักษาชะลอวัยและฟื้นฟู (Anti-aging treatment and rehabilitation and recovery) 15,055 บาท

ส่วนสาเหตุของการมาท่องเที่ยวในประเทศไทยของชาวต่างชาติ ได้แก่

  • เพื่อการพักผ่อน (Holiday) 68.2%
  • เพื่อการแพทย์ (Medical) และสุขภาวะสมบูรณ์ (Wellness) 25.5%
  • เพื่อธุรกิจและอื่นๆ 3%

สำหรับตลาดโรงพยาบาลเอกชน โดยทั่วไปจะอยู่ที่กลุ่มชนชั้นกลาง (Middle class) ซึ่งในบรรดาประเทศอาเซียนด้วยกัน พบว่า

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Services/Private-Hospitals/IO/io-Private-Hospitals [2024, February 22].
  2. https://www.doctoranywhere.co.th/?lang=th [2024, February 22].