
4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 52
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 26 กุมภาพันธ์ 2568
- Tweet
2. เป้าหมายการพัฒนา – ประเทศไทยจำเป็นต้องมีอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ (Medical device and equipment) ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน (Standard) ขึ้นเองภายในประเทศ (Domestic) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย (Cost reduction)
ผลลัพธ์ (Result) ก็คือทำให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึง (Access) บริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง (Universal) และเป็นธรรม (Fair) โดยนอกจากการใช้งานในประเทศแล้ว ยังมุ่งหวังให้มีการขยายการส่งออก (Export expansion) ทั้งเชิงปริมาณ (Quantity) และเชิงคุณภาพ (Quality)
มีการมุ่งเน้น (Focus) การยกระดับ (Upgrade) ขีดความสามารถ (Capability) ด้านเทคโนโลยี ของผู้ผลิตขึ้นไปจนสามารถแข่งขัน (Competition) กับผู้ผลิตและผู้นำเข้าที่มีอยู่เดิมได้ จากเป้าหมายดังกล่าวประเทศไทย ควรมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพ (Potential development) ผู้ประกอบการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้สามารถผลิตและมีการใช้ (Utilization) เครื่องมือแพทย์จากนวัตกรรม (Innovation) ของไทยอย่างแพร่หลาย (Widespread) ในระบบสาธารณสุขของไทยโดยเฉพาะตลอด ไปจนถึงการส่งออกซึ่งเครื่องมือแพทย์ในกลุ่มดังต่อไปนี้
- กลุ่มที่ 1 วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical supplies and equipment) ที่มีการใช้งานเป็นปริมาณมาก (Vast) และเป็นภาระค่าใช้จ่ายหลัก (Major expenditure) ในระบบทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตัวอย่างเช่น ข้อเข่า (Knee joint), สายสวนขยายหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery angiography: CAG), โลหะดามกระดูก (Metal implant)
ข้อมูลรายการดังกล่าวจาก สำนักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มียอดการเบิกจ่ายคืน (Reimburse) รายการในบัญชีรายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียม (Prosthetics) 20 อันดับแรก มีการจ่ายเฉลี่ย ปี พ.ศ. 2557 – 2562 เกือบ 4,000 ล้านบาท
- กลุ่มที่ 2 เครื่องมือแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยช่วยตนเองได้ที่บ้าน (Home use) ลดการพึ่งพา (Dependency) บุคคลอื่น, ลดความถี่ (Frequency) ่ในการเดินทางไปโรงพยาบาล, ลดค่าใช้จ่าย (Expenditure) ของผู้ป่วย, หรือลดภาระ (Burden) ของบุคลากรทางการแพทย์
ตัวอย่างเช่น ชุดตรวจวินิจฉัยด้วยตนเอง (Self-test) เพื่อคัดกรอง (Screen) โรคก่อนทวีความรุนแรง (Severity), เครื่องล้างไตอัตโนมัติ (Automated peritoneal dialysis: APD), อุปกรณ์ช่วยเหลือด้านการเคลื่อนไหว (Mobility aid), การรับรู้ประสาทสัมผัส (Sensory perception) สำหรับผู้พิการหรือผู้สูงอายุ, เครื่องวัดออกซิเจน (Oxygen monitor)
แหล่งข้อมูล –