4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 32
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 22 พฤษภาคม 2567
- Tweet
ด้านผู้แทนขายเครื่องมือแพทย์ (Medical device) 10 รายสำคัญ พร้อมผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้แก่
การแพร่ระบาด (Pandemic) ของไวรัส COVID-19 ที่เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2563 ส่งผลให้ความต้องการ (Demand) สินค้าหมวดการแพทย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการจึงเร่งขยายการผลิต (Manufacture)/การลงทุน (Investment) โดยเฉพาะเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ (Infection prevention) ในกลุ่มวัสดุสิ้นเปลือง (Supplies)
โดยเฉพาะประเภทใช้แล้วทิ้ง (Disposable) เช่น หน้ากากอนามัย (Mask) ที่ได้รับอนุญาต ถุงมือยาง/ถุงมือตรวจ (Examination glove) และชุดตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ (Medical diagnostics) ทั้งยังทำให้ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) จากธุรกิจอื่นเร่งพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ที่ขาดแคลน (Scarce) เพื่อรองรับความต้องการที่เกี่ยวข้องกับไวรัส COVID-19
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน้ากากพลาสติก (Plastic mask) สำหรับป้องกันสารคัดหลั่ง (Secretion) กระเด็นเข้าตาหรือใบหน้า และหมวกและชุดคลุมอัดอากาศความดันบวก PAPR (= Powered air-purify respirator) และชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล (Tele-Monitoring) ที่เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of things: IoT)
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์/นวัตกรรม (Innovation) การแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced) มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการเครื่องมือแพทย์เพื่อรักษาโรคทั่วไป (General treatment) หรือใช้ในการผ่าตัด (Surgery)ชะลอตัวลง เนื่องจากผู้ป่วยยกเลิก (Cancel)/เลื่อน (Postpone) การรักษาในโรงพยาบาลออกไป
นอกจากนี้ ความต้องการเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ที่เพิ่มขึ้นพร้อมกันทั่วโลกยังหนุนให้การส่งออกเครื่องมือแพทย์ของไทยในปี พ.ศ. 2563 - 2564 เติบโตอย่างก้าวกระโดด (เฉลี่ย 30.8% ต่อปี) ทั้งในกลุ่มวัสดุสิ้นเปลือง, ชุดน้ำยา, และชุดวินิจฉัยโรค
แหล่งข้อมูล –