4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 14
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 28 สิงหาคม 2566
- Tweet
ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีมูลค่าส่งออกเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical device and equipment) ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด (Leap-frog) เป็นอันดับที่ 19 ของโลก โดยมีอานิสงค์ (Benefit) จากการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยสนับสนุน
งานวิจัยของธนาคารกรุงศรีอยุธยา พบว่าในปี พ.ศ. 2565 ถึง ปี พ.ศ. 2566 มูลค่าจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ในประเทศ เติบโตเฉลี่ยระหว่าง 5.0 ถึง 7.0 % ต่อปี
อันที่จริง ความต้องการอุปกรณ์การแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัย (Hygiene) และการดูแลสุขภาพ (Health-care) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ อันเป็นผลมาจาก . . .
อัตราการเจ็บป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease) ชนิดเรื้อรัง (Chronic)
- จำนวนผู้ป่วยต่างชาติ (Foreign patient) มีแนวโน้มกลับมาใช้บริการในไทยเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2565 ถึง พ.ศ. 2566
- ผู้ประกอบการโรงพยาบาลมีแผนขยายการลงทุนต่อเนื่อง (Continuous investment)
- กระแสการใส่ใจสุขภาพ (Health-consciousness) และการดูแลสุขภาพแบบครบวงจรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก
- ประเทศคู่ค้าหลัก (Major trading partner) ของไทยยังมีความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง
- นโยบายสนับสนุนจากรัฐบาลในการพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) และ
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการแพทย์ใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced technology) มากขึ้น
สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย (Medical Device Technology Industry Association) รายงานว่า ในปี พ.ศ. 2562 ตลาดเครื่องมือแพทย์ของไทย มีมูลค่ากว่า 3.38 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 118.3 แสนล้านบาท) และคาดการณ์ว่า จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยที่ 8.1% (ในขณะที่ตลาดเครื่องมือแพทย์ของโลกเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.1%) ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2570
ดังนั้น จึงเป็นที่ประมาณการณ์กันว่า ตลาดเครื่องมือแพทย์ของไทยจะมีมูลค่า 7.44 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 260.4 แสนล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2570 สืบเนื่องมาจากความต้องการ (Demand) นวัตกรรม (Innovation) ทางการแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้นและความเชื่อมั่นในไทยในความพร้อมตอบรับ (Response) กระแสความต้องการ
นโยบายการยกระดับ (Upgrade) อุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของรัฐบาล ยังเป็นปัจจัยท้าทายทางธุรกิจ (Business challenge) ที่สำคัญ ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการเพิ่มการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์จากบัญชีนวัตกรรมของไทย อย่างน้อย 30% ของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัยนวัตกรรมและการผลิตในประเทศ (Domestic manufacture)
การสร้างรายได้ (Revenue) และผลบวกทางเศรษฐกิจ ประมาณ 10,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี (ระหว่างปี พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2568) ให้ประเทศ จะช่วยยกระดับ (Improve) ความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ของผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ไทย
ทั้งยังลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม (Social gap) ในการเข้า (Accessibility) ถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพ (Quality) ดีและได้มาตรฐานสากล (International standard) เพื่อยกระดับประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของเอเชีย (Medical Hub of Asia)
แหล่งข้อมูล –
- https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/188685 [2023, August 27].
- https://thaimed.co.th/ [2023, August 27].