5. ตลาดอาหารเสริม - ตอนที่ 44
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 7 พฤศจิกายน 2567
- Tweet
โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม (Compounded average growth rate: CAGR) ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่รวมกลุ่มผลิตภัณฑ์วิตามินจากปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2564 อยู่ที่ 9% จากปัจจัยหนุนของแนวโน้ม (Trend) 4 ประการ คือ การเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aging society), การมีอายุยืนด้วยคุณภาพชีวิต (Quality of life) ที่ดี, โภชนาการเฉพาะบุคคล (Individualized nutrition), และการใส่ใจสุขภาพเชิงรุก (Proactive healthcare)
นอกจากนี้ ยังเกิดจากปัจจัยการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัส Covid-19 ที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพ โดยการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary supplement) ประเภทวิตามิน, เกลือแร่ (Mineral), และอาหารเสริมอื่นๆ ที่ช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี (Healthy) รวมไปถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน (Immunity) ให้แก่ร่างกาย
จากข้อมูลสำรวจ (Survey) ผู้บริโภคชาวไทยวัยผู้ใหญ่ (Adult) จำนวน 8 ใน 10 คน มีการบริโภค (Consume) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และผู้บริโภคถึง 29% มีการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นประจำ (Regularly) จากข้อมูลการสัมภาษณ์ (Interview) ผู้ประกอบการรับจ้างผลิต (Contract manufacturing) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และ ผู้ประกอบการผลิต (Manufacturer) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของไทยเป็นที่ยอมรับ (Well-accepted) ของต่างประเทศจากคุณภาพ (Quality) และคุณสมบัติหรือสรรพคุณ (Property) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร (Herb) และสารสกัดธรรมชาติ (Natural extract) เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบ (Raw material) ของสมุนไพร จึงมีศักยภาพ (Potential) ในการต่อยอดการใช้เทคโนโลยีกับวัตถุดิบคุณภาพ
และผู้บริโภคต่างก็มีทัศนคติที่ดีกับสมุนไพรและสารสกัดธรรมชาติ ทำให้เป็นที่ต้องการจากตลาด (Market demand) สูง และเป็นโอกาสการเติบโต (Growth opportunity) ของอุตสาหกรรมนี้ รวมไปถึงนโยบายจากภาครัฐ ที่สนับสนุนผู้ประกอบการ (Entrepreneur) หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมสมุนไพร ผ่านแผนแม่บท (Master plan) การพัฒนาสมุนไพรไทย (Thai herb development) ปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2564
จากข้อมูลการสัมภาษณ์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทความงาม (Aesthetics) ยังได้รับความนิยมสูงที่สุด รองลงมาคือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทเสริมภูมิคุ้มกัน (Immunity), ผ่อนคลาย (Relieve) ความเครียด (Stress) และการนอนหลับ, และบำรุง (Nourish) สายตาตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทผ่อนคลายความเครียดและช่วยในการนอนหลับมีแนวโน้ม (Trend) เติบโตจากความสนใจ (Interest) ของผู้บริโภคมากขึ้น
อันที่จริง 70% ของผู้บริโภคคนไทยอายุระหว่าง 18 ถึง 34 ปี และ 61% ของผู้บริโภคที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ให้ความสำคัญกับการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเมื่อเกิดความเครียดหรือเหน็ดเหนื่อย (Fatigued) จากการใช้งานของร่างกาย ประกอบกับสภาวะแวดล้อมที่ทำ ให้คน ไทยเกิดความเครียดมากยิ่งขึ้น โดย 80% ของคนไทยมีประสบการณ์เผชิญกับสภาวะทางจิตใจ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และ 78% เผชิญกับสภาวะนี้ทุกเดือน
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทผ่อนคลายความเครียดและการนอนหลับ มีแนวโน้มเติบโตจากปัจจัยความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ บริโภค
แหล่งข้อมูล –