6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 18
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 25 ตุลาคม 2566
- Tweet
ดังนั้นการที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว (Speedy) มีผลสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาชีวิต (Life-saving) ของผู้ป่วย ซึ่งการรายงานผลที่รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ (Accurate) ยังคงเป็นประเด็นสำคัญ และยังคงเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินงานตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา (Micro-biology laboratory) โดบมีการทดสอบอยางต่อเนื่อง เพื่อหาวิถีทางในการตรวจวิเคราะห์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency)
ในส่วนของโอกาสในการดำเนินธุรกิจ (Business opportunity) นั้น เครื่องมือตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ (Automation) ทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาในประเทศไทยนั้น มีศักยภาพ (Potential) สูง เนื่องจากในปัจจุบันห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Clinical laboratory) ในประเทศไทยได้รับการตรวจสอบ (Inspection) และมีการขึ้นทะเบียนมาตรฐาน (Standard) การตรวจวิเคราะห์มากมาย
มีองค์กรที่รองรับตรวจสอบ (Certification) คุณภาพและประสิทธิภาพของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างถูกต้อง, ครบถ้วน, และต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการคุณภาพมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โดยสภาเทคนิคการแพทย์ (Medical Technology Council), การขอมาตรฐาน ISO 15189 (ISO = International Organization for Standardization) ของห้องปฏิบัติการ, และการขอรับรองคุณภาพระดับสากล JCI (= Joint Commission International) ของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ในสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
ทั้งหมดนี้ ทำให้ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มีความตื่นตัวในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมีระบบการปฏิบัติงาน (Operations) ที่มีมาตรฐาน, ลดการผิดพลาด (Error) อันอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่นการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นมาตรฐาน, หรือเกิดจากความผิดพลาดจากการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานเองหรือจากความไม่ชำนาญ (Incompetency) ในการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติงาน [นักเทคนิคการแพทย์ (Medical technologist: Mt)]
เครื่องมืออัตโนมัติในงานทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ มีส่วนช่วยลด (Reduce) ปัญหาและข้อผิดพลาดนี้ได้อยางดีเยี่ยม รวมถึงยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการในอีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่เกี่ยวข้องในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา เนื่องจากยังต้องอาศัยความชำนาญในการปฏิบัติการเป็นอย่างมากและมีข้อจำกัด (Limitation) ในการตรวจวิเคราะห์ส่วนของการดำเนินงาน
ธุรกิจทางด้านการจัดจำหน่ายและให้บริการเครื่องมือหรืออุปกรณ์และน้ำยา (Re-agent) ที่ใช้ ในการตรวจวิเคราะห์ของปฏิบัติการทางการแพทย์ในปัจจุบันนั้น มีผู้ประกอบการจำนวนมาก กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่า มีผู้ประกอบการทั้งผู้ผลิตและจัดจำหน่าย หรือผู้นำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่จดทะเบียนบริษัท รวมทั้งสิ้น มากกวา่ 270 ราย
ในจำนวนนี้ แบ่งออกเป็น ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์จำนวน 37 รายและ ผู้นำเข้าเครื่องมือแพทย์จำนวน 238 ราย อันที่จริง การที่มีผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ในจำนวนมาก ส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์ทางด้านเครื่องมือแพทย์มีจำนวนมากตามไปด้วย และสภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูง (Highly competitive) เป็นเงาตามตัว ไปด้วย
แหล่งข้อมูล –
- file:///C:/Users/user/Downloads/TP%20BM.021%202557%20(1).pdf [2023, October 24].
- https://mtcouncil.org/lab-quality-accreditation/ [2023, October 24].