6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 13

  • ระบบความปลอดภัยที่ต้องมีในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Medical laboratory)ประกอบไปด้วย
    1. ต้องมีระบบป้องกันไฟฟ้ารั่ว (Electric leakage) หรือมีการติดตั้งสายดิน (Ground wire) ไว้
    2. มีแผนและระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire protection)
    3. มีอุปกรณ์ล้างตาพร้อมใช้ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency eye wash)
    4. มีแนวทางปฏิบัติเรื่องความปลอดภัย (Safety) ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ (Infection prevention) ในบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน
    5. มีป้ายเครื่องหมายแสดงพื้นที่ต่างระดับ (Different levels)
    6. มีอ่างล้างมือ (Sink) ในพื้นที่ที่อาจมีการสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่ง (Secretion)
    7. มีชุดทำความสะอาด (Cleansing kit) สำหรับจัดการสารเคมี เลือดหรือสารคัดหลั่ง หรือเชื้ออันตรายที่ร่วงแตก (Spill)
    8. มีชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First-aid kit)
    9. ต้องปฏิบัติตามหลักข้อควรระวังไปทั่ว (Universal precaution) อย่างถูกต้อง
    10. บุคลากร (Staff) ต้องได้รับการฝึกอบรม (Training) ด้านความปลอดภัยเป็นอย่างดี
  • ต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบบริหารคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous) และนำข้อมูลการทบทวน(Review) ระบบบริหารคุณภาพ, การปฏิบัติแก้ไข, และการป้องกันโอกาสเสี่ยง (Risk) รวมทั้งนำข้อมูลกระบวนการก่อน (Pre-), ระหว่าง (During), และหลัง (Post-) การทดสอบ มาเป็นข้อมูลสำหรับกำหนดแผนพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

บริการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ควรมีเครื่องมือ (Tool) ที่ความทันสมัย, ครบครัน, และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 15189:2023* จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ โดยสร้างมั่นใจในคุณภาพ ที่ส่งมอบ (Delivery) ให้แก่ผู้รับบริการ

*ISO มาจากคำว่า International Organization for Standardization ซึ่งเป็นสหพันธ์ (Federation) ระดับโลก ของผู้กำหนดมาตรฐาน (Standard body) จากนานาชาติ ซึ่งทำงานร่วมกันผ่านคณะกรรมการเทคนิค (Technical committee) โดยแต่ละสมาชิกมีความสนใจในหัวข้อ (Subject) ที่ได้รับการสถาปนา (Established) ให้เป็นตัวแทน (Represent) คณะกรรมการนั้นๆ

ISO 15189:2023 คือ มาตรฐานคุณภาพ (Quality) ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Medical laboratory) ซึ่งประยุกต์ใช้ได้ (Applicable) ในการพัฒนาระบบบริหาร (Management system) และประเมินสมรรถนภาพ (Competence) มาตรฐานนี้ ยังสามารถใช้ในการยืนยัน หรือรับรู้ (Recognize) สมรรถนภาพของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โดยผู้ใช้ห้องปฏิบัติการ, ผู้มีอำนาจในการกำกับดูแล (Regulatory authority), และผู้รับรองมาตรฐาน (Accreditation body)

นอกจากนี้ มาตรฐานนี้ ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับการทดสอบ ณ จุดดูแลผู้ป่วย (Point-of-care testing: POCT) และการกำกับดูแล ณ ระดับภูมิภาค (Regional), ระดับชาติ (National), และระดับสากล (International) ทั้งเฉพาะบางหัวข้อ (Specific topic) หรือทุกหัวข้อในองค์รวม (Holistic)

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.medicallinelab.co.th/บทความ/ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ [August 15].
  2. https://cdn.standards.iteh.ai/samples/76677/1173a97df1464b9aaa576db045d9d35f/SIST-ISO-15189-2023.pdf [2023, August 15].