7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 30
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 11 เมษายน 2567
- Tweet
เวชศาสตร์นิวเคลียร์ จุฬาฯ ตระหนักถึงความสำคัญในคุณภาพ (Quality) ของการให้บริการโดยมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นจุดกลาง (Patient-centric) และการดูแลอย่างเอื้ออาทร จึงจัดให้มีโครงการชื่อว่า “สร้างสุขทุกนาที…เพื่อผู้ป่วยเด็กระหว่างการรอตรวจ” ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ซึ่งโครงการดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครองเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย (Relax), ลดความเครียด (Stress), ความกลัว (Fear), และความวิตกกังวล (Worry) ส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กให้ความร่วมมือในการตรวจ
โครงการนี้ได้รับ“รางวัลชมเชยและรางวัลขวัญใจมหาชน” จากการประกวดโครงการพัฒนาคุณภาพงาน (Work Quality Development) ประจำปี พ.ศ. 2562 จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ด้านงานวิจัยและนวัตกรรม (Research and Innovation) สู่ประชาชน
เวชศาสตร์นิวเคลียร์ จุฬาฯ เน้นถึงความสำคัญในพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม โดยเฉพาะ “การพัฒนางานประจําสู่งานวิจัย (Routine to Research)” ซึ่งผลลัพธ์ของงานวิจัย/นวัตกรรมดังกล่าว จะนำมาซึ่งการปรับปรุงกระบวนการทํางาน (Work process) และการบริการให้ดีขึ้น (Improved service)
ที่ผ่านมาสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ได้พัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการประคบเย็นสำหรับผู้ป่วย เรียกว่าหน้ากากประคบเย็น “CARE MASK” หน้ากากนี้ใช้สำหรับประคบเย็นบริเวณต่อมน้ำลาย (Salivary gland) เพื่อช่วยลดอาการปวด (Pain) และบวม (Inflammation) ของต่อมน้ำลายที่เกิดการอักเสบจากการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์
นอกจากนี้ ยังลดอาการปวดและบวมของฟันและเหงือกภายหลังการผ่าตัดทางทันตกรรม, ลดอาการปวดและบวมบริเวณกราม (Jaw) และคาง (Chin) ภายหลังการผ่าตัด โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องใช้มือในการประคองอุปกรณ์ให้ความเย็น ในระหว่างทำการประคบ ทำให้ผู้ป่วยสามารถทำงานหรือกิจวัตร (Routine) ต่างๆ ได้ในขณะที่ทำการประคบเย็น
การให้บริการของศูนย์
- การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
เป็นการตรวจทางรังสีวิทยาซึ่งช่วยในการวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ทางคลินิก โดยมีข้อดีที่สำคัญคือสามารตรวจได้ถึงระดับโมเลกุลซึ่งเป็นโครงสร้างที่เล็กที่สุดของร่างกาย แพทย์จึงสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มของโรค และวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
การเตรียมตัวก่อนตรวจ (Pre-examination) การตรวจรักษาทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์มีวิธีการที่หลากหลายตามอวัยวะ (Organ) ที่จะตรวจ จึงต้องการการเตรียมตัวที่แตกต่างกัน ผู้ป่วยควรสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่และแพทย์ที่ทำการตรวจรักษา และศึกษาข้อควรปฏิบัติจากเอกสารคำแนะนำ (Instruction) ให้ครบถ้วนตามการตรวจแต่ละประเภทวิธีการตรวจ
แหล่งข้อมูล –
- https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/dept/%/ฝ่ายรังสีวิทยา [2024, April 10].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Radiology [2024, April 10].