8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู - ตอนที่ 5

ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู

  • ภัยคุมคามจากบริการทดแทน (Threat of substitute) เนื่องจาก สุขภาวะการกีฬา (Sport wellness) นั้น เป็นธุรกิจการให้บริการที่เกี่ยวกบัการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย (Physical rehabilitation) ซึ่งมีคุณสมบัติที่โดดเด่น (Unique) โดยเฉพาะเรื่องของแพทย์และการให้บริการที่มีจุดแข็ง (Strength) ในการรักษาที่ใช้แนวทางเดียวกับการรักษานักกีฬา (Athlete) เมื่อเปรียบเทียบกับคลินิกกายภาพบำบัดทั่วไป จึงทำให้แรงผลักดัน (Force) จากบริการทดแทนที่มีผลต่อสุขภาวะการกีฬาค่อนข้างต่ำ
  • อำนาจการต่อรองของผู้รับบริการ (Bargaining power of user) การบาดเจ็บนั้น เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน และในงานบางอย่าง ต้องใช้ร่างกายในการประกอบอาชีพ (Occupation) ดังนั้นการรักษาแบบประคับประคองอาการและใช้วลาในการรักษาที่นานนั้น อาจทำให้เสียโอกาสในหลายๆ กรณี ดังนั้น การใช้สุขภาวะการกีฬาในการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพในรูปแบบของนักกีฬา จึงทำให้การรักษานั้นตรงจุด และสามารถหายได้ในระยะเวลาอันสั้นกว่าปรกติ โดยมีจุดเด่น (Out-standing) ของทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ฟิตเนส (Fitness) ที่ทำการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ดังนั้น อำนาจในการต่อรองของผู้รับบริการจึงมีค่อนข้างต่ำ
  • อำนาจการต่อรองของผู้ให้บริการ (Bargaining power of provider) สุขภาวการณ์กีฬานั้น เป็นคลินิกรักษาแล้วฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายที่ได้รับการรับรองมาตราฐาน (Standard) โดยผู้ที่เข้ามาใช้บริการนั้น มักมาพร้อมกับอาการบาดเจ็บ (Injury) ของร่างกาย เพื่อที่จะให้ร่างกายกลับคืน (Recovery ความสมบูรณ์แข็งแรงได้ตามเดิม และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปรกติ จึงทำให้ผู้ให้บริการรักษา มีอำนาจในการต่อรองที่ค่อนข้างสูง
  • การแข่งขันของคู่แข่งในอุตสาหกรรม (Industry rivalry) ในปัจจุบัน คลินิกที่ให้การรักษาและกายภาพบำบัดนั้นยังมีอยู่จำนวนน้อย โดยเฉพาะคลินิกที่ให้การรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายแบบถูกต้องถูกวิธีในรูปแบบของนักกีฬา ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเข้าใช้บริการได้ด้วยนั้น ยังเป็นกรณีที่มีค่อนข้างน้อย หรืออาจจะไม่มีเลยในปัจจุบัน จึงทำให้การแข่งขัน (Competition) นั้นไม่รุนแรง แต่ในอนาคตก็อาจจจะมีธุรกิจที่ให้การรักษาในรูปแบบเดียวกันเกิดขึ้น ดังนั้นผู้เล่น (Player) ที่อยู่ในท้องตลาด ต้องมุงมั่นพัฒนาการรักษาให้บริการอยู่ในชั้นแนวหน้าอย่างสม่ำเสมอ จึงจะสามารถรักษาส่วนแบ่งของตลาด (Market share) ของตนเองได้

[ไมเคิล พอร์เตอร์ (Michael Porter) ผู้ให้กำเนิดแบบจำลองแรงขับเคลื่อนทั้ง 5 นั้น (Five-force analysis) เป็นปรมาจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) ที่ได้รับการยกย่องไปทั่วโลกว่า เป็นบิดา (Father) แห่งวงการยุทธศาสตร์ (Strategy field) เขาเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ 20 เล่ม หนึ่งในจำนวนนวนนั้นคือ Competitive Advantage of Nations โดยเขาค้นพบจากงานวิจัยการตลาดว่า การศึกษาในสหรัฐอเมริกาคือความได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะสร้างรายได้จากนักศึกษาต่างชาติมากกว่าทุกชาติ

เขามีบริษัทให้คำปรึกษา (Consulting firm) แก่รัฐบาลหลายประเทศ รัฐบาลไทยได้ว่าจ้างเขามาศึกษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวไทย ในราคา 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 30 ล้านบาท ในเวลานั้น) ผลงานวิจัยตลาดนั้น เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย เช่น แม้ไทยจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อปีมากที่สุดในภูมิภาค แต่รายได้เฉลี่ยต่อคนจากนักท่องเที่ยวดังกล่าว ก็ต่ำสุดในภูมิภาค เช่นกัน]

แหล่งข้อมูล

  1. https://drive.google.com/file/d/1LfgTPpwH-Wx1ErPJ4SjIz9_86Jb8CcSy/view?usp=share_link [2023, April 28].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Michael_Porter [2023, April 28].