8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 16

งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู มักถูกเรียกทั่วไปว่า กายภาพบำบัด (Physical therapy) แต่ที่จริงแล้ว งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation medicine) มีขอบเขตครอบคลุมมากกว่านั้น ตั้งแต่การตรวจประเมิน (Assessment), การวางแผนการรักษา (Treatment planning), และการฟื้นฟู (Recovery) ในหลากหลายรูปแบบ 

ตัวอย่างเช่น การฝึกการเคลื่อนไหว (Movement), ฝึกกลืน (Swallow), ฝึกพูด (Speech), การฝึกกล้ามเนื้อ (Muscle) ต่างๆ หรือการพัฒนาสมรรถภาพทางกาย (Physical performance) ของผู้ป่วยให้กลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด หลังจากการผ่าตัด (Surgery), การบาดเจ็บร้ายแรง (Trauma), อุบัติเหตุ (Accident), หรือเพื่อการป้องกันความเสี่ยง (Risk) จากการหกล้ม (Fall) ในผู้สูงอายุ

ทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นผู้วินิจฉัย (Diagnosis) และควบคุมการรรักษา (Treatment) มีทีมนักบำบัด (Therapist) ที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ คอยช่วยเหลือ และพร้อมด้วยทีมสหสาขาวิชา (Allied professional) เช่น นักกิจกรรมบำบัด (Occupational therapist), นักโภชนากร (Nutritionist), นักกำหนดอาหาร (Dietitian), นักจิตวิทยาคลินิก (Clinical psychologist) เป็นต้น

บุคลากรดังกล่าว ทำงานสนับสนุน (Support) เพื่อให้การฟื้นฟูเป็นไปอย่างสมบูรณ์และดูแลในทุกมิติ (All aspects) ของการใช้ชีวิต เป้าหมายหลัก (Primary goal) ของศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู คือ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ที่สูญเสียไปจากการป่วย, ความเสื่อมตามวัย (Aging), การป้องกันความเสี่ยง (Risk) ต่อสุขภาวะ และการพัฒนาศักยภาพ (Potential) ทางการสูงสุดเพื่อการกีฬา

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเปิดใหม่ ใจกลางเมือง มีเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย พร้อมช่วยให้การฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยเป็นไปได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยมีการจัดการบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One-stop service) เพื่อความสะดวกของผู้ป่วย

การเลือกพื้นที่บนชั้นเดียวกันกับคลินิกโรคกระดูกและข้อ (Orthopedics) และคลินิกประสาทวิทยา (Neurology) ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว (Movement) จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูทางร่างกาย เช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ (Paralysis) อัมพาตครึ่งซีก (Hemiplegia), พาร์กินสัน (Parkinson), หรือ ผู้ป่วยที่ผ่ากระดูก (Bone dissection) เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังออกแบบศูนย์โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ (Patient-centric) เช่นการวางตำแหน่งห้องตรวจและห้องกิจกรรมบำบัดให้อยู่ใกล้กัน (Proximity) เพื่อให้แพทย์สามารถแวะไปดูผู้ป่วยได้ตลอดเวลาในระหว่างการบำบัด และยังมีธาราบำบัด (Aqua therapy) 2 บ่อ อีกด้วย

โรงพยาบาลแห่งใหม่นี้ นับศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัดแห่งแรกของประเทศไทยที่มีสวนสุขภาพ (Rehabilitation garden) ที่มีการจัดพื้นที่และพื้นผิวสัมผัสที่แตกต่าง ให้ผู้ป่วยได้ฝึกเดิน ฝึกประสาทสัมผัส (Sense) และการทรงตัว (Balance) ในบรรยากาศที่ร่มรื่นกลางแจ้ง (Out-door) จากการวางตัวตึกให้รับแสงเหนือ-ใต้ ไม่ร้อนจนเกินไป

ศูนย์เวชศาสตรฟื้นฟูและกายภาพบำบัดแห่งนี้ นับว่าเต็มรูปแบบที่ “ครบครัน ทันสมัย” สมตามคำกล่าวอ้าง (Claim) เมื่อเปิดตัวโรงพยาบาลใหม่ใจกลางกรุงเทพมหานคร

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.medparkhospital.com/center/physical-therapy-and-rehabilitation [2023, September 28].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Rehabilitation [2023, September 28].