8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 15

อาการป่วยจากโรคบางโรค ทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกาย ส่งผลให้มีปัญหาในการสื่อสารกับผู้อื่นและรบกวนการใช้ชีวิต ประจำวัน นอกจากนี้ความรุนแรงของอาการปวดในแต่ละคนยังทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ตามปกติ

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation center) แบบเอกเทศ (Free-standing) และตามโรงพยาบาลทั่วไป จึงพร้อมให้บริการการดูแลรักษาและวางแผนการรักษาโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ (Specialist), นักกายบำบัด (Physical therapist), นักกิจกรรมบำบัด (Occupational therapist), และนักแก้ไขการพูด (Speech pathologist) โดยมีบริการการรักษาตามรายการ (Program) ดังนี้

  • บริการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาทางระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system: CNS) เช่น หลอดเลือดสมอง (Stroke), อัมพฤกษ์ (Paralysis), และ อัมพาตครึ่งซีก (Hemiplegia)
  • กายภาพบำบัดโรคปอด (Pulmonary), ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory), และทรวงอก (Thoracic)
  • การบำบัดผู้ใหญ่และเด็ก (Adult and child therapy)
  • การบำบัดรักษาด้วยการฝังเข็ม (Acupuncture) และการระงับความปวด (Analgesic)
  • เวชศาสตร์การกีฬา (Sport medicine)
  • บริการฟื้นฟูระบบกระดูก, ข้อ, และกล้ามเนื้อ (Musculo-skeletal)
  • ธาราบำบัด (Aqua-therapy) หรือ การออกกำลังกายในน้ำสำหรับปัญหาโรคข้อ, กล้ามเนื้อ, ระบบประสาท
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพโรคหัวใจ (Heart disease performance) และหลอดเลือด (Cardio-vascular)
  • การดูแลต่อเนื่องหลังจากผู้ป่วยกลับบ้าน

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ให้การฟื้นฟูบำบัดด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ (Allied professionals) ที่ครบถ้วนตามมาตรฐานสากล (International standard) เพื่อให้การบำบัดและบรรเทา (Mitigation) ความรุนแรงของโรคและกลุ่มอาการให้ผู้ป่วย ดังนี้

  • การบำบัดด้วยการดึงหลังและดึงคอ (Traction) ด้วยเครื่องมือทางไฟฟ้า
  • การบำบัดด้วยความร้อน (Heat therapy) ประเภทต่างๆ เช่น การวางแผ่นประคบ, การอบร้อนมือด้วยขี้ผึ้ง (Paraffin), เครื่องมือให้ความร้อนลึกด้วยคลื่นเสียง (Ultra-sound) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Short-wave diathermy), และเครื่องลดปวดด้วยเลเซอร์ (LASER = Light Amplification by Simulated Emission of Radiation)
  • การนวด (Massage) เพื่อลดจุดกดเจ็บของร่างกาย
  • กิจกรรมบำบัด (Occupational therapy: OT) ฝึกการทำงานของมือ (Wrist), นิ้วมือ (Finger), ไหล่ (Shoulder), การทำเครื่องพยุง (Support) ข้อมือ, และการฝึกกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน (Daily activity)
  • แก้ไขความผิดปกติการพูด (Speech therapy) และการกลืน (Swallow)
  • กายภาพบำบัดด้านการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาด้วยเครื่องกายอุปกรณ์ (Prosthetics), เครื่องเสริมช่วยการเดิน (Parapodium), และเครื่องออกกำลังกายขาและแขนแบบทางอ้อม (Passive) และทางตรง (Active)

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.bangkokhospital.com/center-clinic/bone-joint/bangkok-rehabilitation-center?info=overview [2023, September 14].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Rehabilitation [2023, September 14].