3. ตลาดยา – ตอนที่ 39

ในปี พ.ศ. 2567 ร้านขายยา (Drug store) คาดว่า (Expect) ยอดขายโตจะ 4.0% ตลาดแข่งขันรุนแรงขึ้น (Fierce competition) ขึ้นจากร้านเครือข่าย (Chain store)

  • มูลค่าการใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Health expenditure) ของคนไทย น่าจะขยายตัวต่อเนื่อง (Continuous expansion) ที่ 0% ในปี พ.ศ. 2567 จากการเป็นสังคมสูงอายุ (Aging society) และคามเสี่ยงด้านสุขภาพ (Health risk) ที่เพิ่มขึ้น หนุน (Boost) ให้ธุรกิจร้านขายยายังเติบโตได้
  • สำหรับปี พ.ศ. 2567 ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทยคาดว่า (Forecast) ยอดขายของร้านขายยา จะอยู่ที่ 43,000 ล้านบาท เติบโตที่ 0% เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2566 ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจที่มีแนวโน้ม (Trend) รุนแรงขึ้น ในหลายประเด็น ได้แก่ การรุกขยายสาขาของร้านเครือข่าย ทำให้รายย่อยแข่งขันลำบาก

ธุรกิจสุขภาพ (Health business) เป็นหนึ่งในธุรกิจศักยภาพ (Potential) ที่เติบโตต่อเนื่อง สะท้อนได้จากมูลค่าการใช้จ่าย ด้านสุขภาพ (Health expenditure) ของคนไทยซึ่งเติบโตเฉลี่ยปีละ 5.8% (Compound annual growth rate: CAGR) ในช่วงปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2566 และคาดว่า (Expect) จะขยายตัวต่อเนื่องที่ 6.0% ในปี พ.ศ. 2567

ด้วยปัจจัยหนุน เช่น จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นตามโครงสร้าง (Structure) สังคมสูงอายุ (Aging society) ซึ่งไทยจะเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุขั้นสุดยอด (Super aged society) ในปี พ.ศ. 2572 จึงอาจมีความต้องการ (Demand) ดูแลรักษาพยาบาล (Health-care) เพิ่มมากขึ้น

โดยเฉพาะตามความเสี่ยง (Risk) ของโรคที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ (Geriatric diseases) โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable diseases: NCD) เรื้อรัง (Chronic) เช่น โรคหัวใจ (Heart), โรคมะเร็ง (Cancer), โรคความดันสูง (Hypertension) และโรคเบาหวาน (Diabetes)

สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง (Climate change) อย่างรวดเร็วและปัญหามลพิษ (Pollution) เช่น อากาศร้อนจัด หรือฝุ่น PM 2.5 รวมถึงความรุนแรง (Severity) ของโรคและโรคอุบัติใหม่ (Emerging diseases) ทำให้ประชาชน หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลป้องกัน (Preventive) สุขภาพมากขึ้น

ร้านขายยา (Drug store) จึงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่น่าจะได้รับอานิสงส์ (Benefit) จากเม็ดเงินใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เติบโตต่อเนื่อง เพราะเป็นช่องทาง (Channel) การเข้าถึง (Access) ทั้งยารักษาโรค, เวชภัณฑ์ (Medical supplies) และสินค้าสุขภาพ (Health goods) ที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือกใช้บริการสำหรับการเจ็บป่วยเบื้องต้น (Initial) และการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน

ในปี พ.ศ. 2566 มีจำนวนร้านขายยา ที่ได้รับใบอนุญาต (License) จากสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา (อย.) รวม 21,648 ราย ซึ่งจำนวนร้านขายยาในกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, และจังหวัดท่องเที่ยวหลักๆ (Major) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีสัดส่วนราว 62% ของจำนวนร้านขายยาทั้งหมด ขณะที่จำนวนร้านขายยาในจังหวัดที่เหลือทยอยลดลง (Declining) มีสัดส่วนอยู่ที่ 38%

สัญญาณ (Signal) ดังกล่าวสะท้อน (Reflect) ถึงการกระจุกตัว (Concentration) ของธุรกิจในจังหวัดหลัก โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของร้านขายยาที่มีหลายสาขา (Chain store) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ (Entrepreneur) รายใหญ่ ทั้งผู้ผลิตยา (Manufacturer), โรงพยาบาลเอกชน (Private hospital) และผู้ประกอบการค้าปลีก (Retailer)

นอกจากนี้ ยังรวมถึงร้านขายยารายย่อยที่ไม่มีสาขา (Independent store) ที่ยังขยายสาขาในทำเล (Location) ที่มีศักยภาพ ทั่ว 4 มุมเมือง

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Drug-Store-CIS3480-FB-2024-04-04.aspx [2024, August 26].
  2. https://www.nacds.org [2024, August 26].