3. ตลาดยา – ตอนที่ 38

การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ที่ทำให้ความต้องการ (Demand) บริโภคยาเพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2566 ถึง พ.ศ. 2568 จนดันให้มูลค่า (Value) จำหน่ายยาจะเติบโตต่อเนื่อง (Continuous growth) พร้อมๆ กับ นโยบายศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical hub)

การชูให้ไทยมีความมั่นคง (Security) ด้านสาธารณสุข (Public health) ทั้งระบบ จึงมีวาระแห่งชาติ (National agenda) สำคัญ ที่ต้องเร่งผลักดัน (Drive) ความมั่นคงทางการยา กล่าวคือ การพึ่งพา (Dependence) ยานอก (Import) เท่าที่จำเป็น (Necessary)

และเพิ่มขีดความสามารถ (Capacity) ด้านการผลิต (Manufacture) ยาไทย ให้สามารถป้อน (Feed) เข้ามาในระบบ และส่งออก (Export) ได้มากขึ้น สร้างเม็ดเงินสะพัด (Money circulation) เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทย (Thai economy) ได้อีกทางหนึ่ง

ที่น่าาจับตามากสุด คือ การขยาย (Expansion) ขอบข่ายลงทุน (Investment) ของกลุ่มทุนจากธุรกิจอื่น เช่น กลุ่มปิโตรเคมี (Petro-chemical) และเคมีภัณฑ์ รวมทั้งกลุ่มพลังงาน (Energy) ที่ตบเท้าเข้ามาในอุตสาหกรรมยา (Pharmaceutical industry) นี้อย่างต่อเนื่อง

ตลาดยา (Pharmaceutical market) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) นับว่ามีอัตราการเติบโตในระดับที่สูง ซึ่งตลาดยาในประเทศไทยมีขนาด (Size) ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากอินโดนีเซีย โดยตลาดยาไทยมีมูลค่าตลาดประมาณ 2.34 แสนล้านบาท ในปี พ.ศ. 2561 และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย (Average growth) 3 ถึง 5% ต่อปี จนถึงปัจจุบัน

ในภาพรวม (Overall) อุตสาหกรรมยาของไทยอยู่ในขั้นปลายธาร (Down-stream) ของสายโซ่อุปทาน (Supply chain) ซึ่งเป็นการนำเข้าวัตถุดิบ (Raw material) จากต่างประเทศมาทำการผลิตเป็นยาสำเร็จรูป (Finished good) ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จึงเป็นยาชื่อสามัญ (Generic) ที่มีมูลค่าเพิ่มไม่สูงมาก

อย่างไรก็ตาม จุดแข็ง (Strength) ของตลาดยาไทยคือการควบคุม (Control) ความปลอดภัย (Safety) และมาตรฐาน (Standard) การผลิตในระดับสูงจนได้รับความมั่นใจ (Confidence) จากนานาชาติ ซึ่งนับเป็นจุดแข็งที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ในการผลิตยาเข้าสู่ตลาด

แม้จะมีการส่งออกยาไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้าน (Neighboring) แล้ว แต่การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) และการเข้าถึงการ (Access) รักษาโรคผ่านระบบหลักประกันสุขภาพ (Health insurance) ถ้วนหน้า (Universal) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุน (Support) การขยายตัวของตลาดยาในประเทศไทย 

อุตสาหกรรมยาของไทยควรเร่งพัฒนาคุณภาพ (Quality) และเพิ่มนวัตกรรม (Innovation) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value-added) ให้กับยาชื่อสามัญ นอกจากนี้ ภาครัฐ (Government sector) ควรให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ ที่สนใจพัฒนายาชีววัตถุ (Biological products) ซึ่งมีโอกาส (Opportunity) เติบโตสูงในอนาคต

จากแนวโน้ม (Trend) ของตลาดโลก พบว่า การมุ่งเน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะช่วยลดข้อจำกัด (Limitation) ด้านขนาดและเงินทุน (Fund) ของกิจการลงได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจกับการพัฒนายาชีววัตถุที่ตลาดมีขนาดใหญ่ เช่น ยาชีววัตถุกลุ่มที่รักษาโรคมะเร็ง (Cancer), ยาชีววัตถุกลุ่มที่รักษาโรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นต้น

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.thairath.co.th/money/economics/analysis/2705883 [2024, August 12].
  2. https://www.tcels.or.th/Resources/Technology-Trends/2399?k=G77MX74PJM5J6O8E [2024, August 12].