3. ตลาดยา – ตอนที่ 35
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 2 กรกฎาคม 2567
- Tweet
ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Federation of Thai Industries: FTI) เผยข้อมูลน่าสนใจ สนับสนุนแนวโน้ม (Trend) ข้างต้นว่า แท้จริงอุตสาหกรรมยาทั้งระบบของประเทศไทย มีการขยายตัว (Expansion) ที่น่าสนใจมากกว่านั้น ในระยะที่ผ่านมา โดยที่ทั้งระบบเติบโต (Growth) ขึ้นปีละ 12%
ขณะในมุมนักลงทุน (Investor) ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนชี้ว่า ธุรกิจยาในระดับ (Scale) ที่ใหญ่ขึ้นมาก มีโอกาสเติบโตสูง และมีศักยภาพ (Potential) สูงในการลงทุน ทั้งขนาดใหญ่ (Large) และ การลงทุนรายย่อย (Small) พบผลประกอบการ (Performance) บริษัทยา อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นแทบทุกบริษัท
เนื่องจากคนมีเงินมากขึ้น และอายุยืนมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องดูแลรักษา (Care) และใส่ใจ (Conscious) เรื่องสุขภาพ ร่างกายของตนเองมากขึ้น ก่อเกิดความต้องการ (Demand) ยาทั้งในเชิงรักษาโรค และยาที่เป็นวิตามินเสริม รวมไปถึง พวกกลุ่มเวชภัณฑ์ (Medical supplies) และ เวชสำอาง (Cosmeceuticals)
แต่จุดเปลี่ยนที่สำคัญ ก็คือ การที่ภาคการท่องเที่ยว (Tourism) ของไทย ที่กำลังกลับมา “ผงาด” หลังโควิด-19 เมื่องมองย้อนสถิติ ช่วงปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยติดอันดับสุดยอด (Top) เมืองท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก เป็นรองแค่เมืองใหญ่ เช่น ลอนดอน, ฮ่องกง, และญี่ปุ่น ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมากถึง 40 ล้านคน
แนวโน้มการท่องเที่ยวที่จะกลับมาพุ่งแรง (Sky-rocketing) นับหลังจากนี้ของไทย จะมาพร้อมๆ กับโอกาส (Opportunity) ปูทางในแง่การแพทย์, การสาธารณสุข (Public health) ของประเทศไทย ที่สร้างชื่อไว้กระฉ่อน (Well-known) เมื่อครั้งที่รับมือ (Handle) กับสถานการณ์โควิด-19 ได้ดีเยี่ยม จนกลายเป็นที่ยอมรับระดับสากล (Internationally accepted)
ปัจจุบัน นอกจากมีแนวโน้มชาวต่างชาติ (Foreigners) โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาหรับ มุ่งเป้า (Target) เข้ามาเพื่อรักษาตัว ด้วยโรคภัยต่างๆ ในประเทศไทยแล้ว ยังพบว่า การแพทย์ในแง่ศัลยกรรมตกแต่ง (Cosmetic surgery) ทั้ง ใบหน้า (Facial), ร่างกาย (Body), และการแปลงเพศ (Transgender) ในประเทศไทย ก็ได้รับความสนใจ อันดับต้นๆ ของระดับโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่การใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Innovation) เช่นกัน ฉะนั้น “ยา” จะเป็นส่วนประกอบ ของกลไก (Mechanism) ของ “ศูนย์กลางสุขภาพ” ที่มีความหลากหลาย (Variety) อย่างน่าจับตามอง
ความน่าสนใจของอุตสาหกรรมยา เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนที่ไทยจะเผชิญ (Confront) กับวิกฤติโควิด-19 ในปี พ.ศ. 2561 ถึง 2562 เฉพาะแค่กลุ่มวิตามินบำรุง (Nourishing vitamins) และเวชสำอาง (ผลิตภัณฑ์ที่รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องสำอางและ/หรือยาไว้ด้วยกัน) มีการเติบโต 7 - 8% ซึ่งโตมากกว่าค่าเฉลี่ยของ GDP (= Gross domestic product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ของโลก นั่นคือ จุดเปลี่ยน (Transition) ที่น่าสนใจในการลงทุน
ยิ่งไปกว่านั้น แม้การเติบโตของกลุ่มธุรกิจดูแลสุขภาพ (Healthcare) ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล (Hospital) หรือ เครื่องมือแพทย์ (Medical device) จะขยายตัวอย่างมาก แต่ยาที่ผลิตโดยบริษัทไทย ยังมีอยู่น้อย ฉะนั้นช่องว่าง (Gap) การเติบโตในแง่การลงทุนมีอยู่มาก หากมองในมุมนักลงทุน ที่ยึดผลตอบแทนการลงทุน (Return on investment: ROI) เป็นหลัก
“จริงอยู่ ยา ไม่ใช่ธุรกิจที่กำไรสูง เพราะมีต้นทุนที่แพง แต่เป็นธุรกิจที่ไม่มีวันล้ม ผู้เล่นน้อยราย แต่การเติบโตมีแต่จะพุ่งต่อ มูลค่ารวมมหาศาล อีกทั้งเป็นหมวดธุรกิจ ที่แม้แต่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก็ไม่มีหลักเกณฑ์กีดกัน และพร้อมจะสนับสนุน”
แหล่งข้อมูล –
- https://www.thairath.co.th/money/economics/analysis/2705883 [2024, July 1].
- https://www.thailandmedicalhub.net/ [2024, July 1].