3. ตลาดยา – ตอนที่ 25
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 28 มกราคม 2567
- Tweet
ประเทศไทยมีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยาในประเทศ 2 ฉบับ ได้แก่ “พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522” (กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา) เป็นการคุ้มครองสิทธิ์ผู้คิดค้นยา มีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหน่วยงานรับจดสิทธิบัตร (Patent) และ “พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม” ซึ่งมีบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการผลิต, นำเข้า, และขายยาในประเทศ โดยมีคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยงานกำกับ ดูแลและรับผิดชอบในการออกใบอนุญาต (License) รวมถึงลงทะเบียน (Register) ยาที่จะจำหน่ายในประเทศ
ผู้ผลิตยาในประเทศไทย
ภาครัฐ | ภาค | เอกชน |
องค์การเภสัชกรรม | ผู้ผลิตยาท้องถิ่น | ผู้ผลิตยาข้ามชาติ |
ผลิตยาสามัญ | ผลิตยาสามัญ | ผลิตยาต้นตำรับ |
บทบาท | ||
- ผลิต | ||
- จัดจำหน่าย | ||
- ทำการตลาดและขาย | ||
- ว่าจ้างผลิต | ||
- ว่าจ้างทำการตลาด |
ส่วนแบ่งรายได้ของตลาดยาในประเทศไทย
อันดับ บริษัท % ส่วนแบ่ง
1. | AztraZeneca | 21.8 |
2. | Pfizer | 16.8 |
3. | Mega Lifesciences | 11.1 |
4. | Novartis | 10.8 |
5. | Better Pharma | 8.6 |
6. | GlaxzoSmithCline | 8.1 |
7. | Sonafi-Aventis | 6.6 |
8. | Berlin Pharma | 5.9 |
9. | Roche Thailand | 5.2 |
10. | Takeda | 5.1 |
แหล่งข้อมูล –