3. ตลาดยา – ตอนที่ 44

รายงานจากหน่วยวิจัย Statista ประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างมาก (High growth) ในตลาดเภสัชกรรม (Pharmaceutical market) ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ความต้องการของลูกค้า  ผู้บริโภคชาวไทยเริ่มต้องการบริการด้านการดูแลสุขภาพ (Healthcare) ที่มีคุณภาพ (Quality) สูงมากขึ้น รวมถึงผลิตภัณฑ์ยา (Drug) ที่มีคุณภาพ โดยต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีราคาที่เข้าถึงได้ (Affordable), มีประสิทธิผล (Efficacy) และมีผลข้างเคียง (Side effect) น้อย นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรสูงอายุ (Geriatric population) ในประเทศไทยยังนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรัง (Chronic) ซึ่งส่งผลให้ความต้องการ (Demand) ผลิตภัณฑ์ยาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แนวโน้มของตลาด หนึ่งในแนวโน้ม (Trend) ที่สำคัญในตลาดเภสัชกรรมของไทยคือการเปลี่ยนไปใช้ยาชื่อสามัญ (Generic drugs) ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการใช้ยาชื่อสามัญในราคาประหยัด (Savings) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Health expenditure) นอกจากนี้ยังมีการลงทุน (Investment) เพิ่มขึ้นในงานวิจัยและพัฒนาโดยบริษัทเภสัชกรรม เพื่อพัฒนายาและการรักษานวัตกรรม (Innovation) ใหม่ๆ อีกทั้งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในบริการด้านสุขภาพ เช่น โทรเวชกรรม (Telemedicine) และร้านขายยาออนไลน์ (e-pharmacies) ก็กำลังเพิ่มขึ้น ทำให้การเข้าถึงบริการ (Access) สุขภาพสะดวก (Convenience) และง่ายดายยิ่งขึ้นสำหรับผู้บริโภค

สภาพแวดล้อมพิเศษในท้องถิ่น รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบาย (Policy) หลายประการเพื่อส่งเสริม (Promote) การเติบโตของตลาดเภสัชกรรม เช่น การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งประเทศไทย (Thailand Center of Excellence for Life Sciences: TCELS) เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรม นอกจากนี้รัฐบาลยังได้เสนอสิทธิประโยชน์ทางภาษี  (Tax incentive) เพื่อดึงดูด (Attract) บริษัทเภสัชกรรมจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุน (Invest) ในประเทศ

ปัจจัยมหภาคพื้นฐาน  การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง (Economic strength) ของประเทศไทยและการใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น มีส่วนช่วยอำนวย (Facilitate) ให้ตลาดเภสัชกรรมเติบโต นอกจากนี้ ทำเลที่ตั้งเชิงกลยุทธ์ (Strategic location) ของประเทศและโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่พัฒนาอย่างดี ทำให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทาง (Destination) ที่น่าสนใจ (Interesting) สำหรับบริษัทเภสัชกรรมที่จะลงทุน

สรุป: ตลาดเภสัชกรรมของประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างมาก (Considerably) จากความต้องการ (Demand) ที่เพิ่มขึ้นสำหรับบริการสุขภาพคุณภาพสูง, การเปลี่ยนไปใช้ยาชื่อสามัญ, และนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุน (Support) อุตสาหกรรม, การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic environment) ที่เอื้ออำนวยของประเทศก็มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตของตลาดเช่นกัน โดยมีจุดเด่น (Highlight) ดังต่อไปนี้

  • รายได้ในตลาดเภสัชกรรมของไทยจะบรรลุ 2,092 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 71,015 ล้านบาท) ในปี ค.ศ. 2024
  • ตลาดที่ใหญ่ที่สุดในคือตลาดยารักษาโรคมะเร็ง โดยมีมูลค่าตลาด (Marlet value) อยู่ที่ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 11,420.5 ล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2024
  • รายได้ในตลาดเภสัชกรรมของไทย จะเติบโตในอัตราเฉลี่ยทบต้นต่อปี (CAGR) 3.74% (ช่วงปี ค.ศ. 2024 ถึง 2029) ส่งผลให้มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 2,514 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 87,990 ล้านบาท) ภายในปี ค.ศ. 2029
  • เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ คาดว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีรายได้สูงสุดที่ 30 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 22,060.5D ล้านบาท) ในปี ค.ศ. 2024
  • ตลาดเภสัชกรรมของประเทศไทยกำลังมีความต้องการเพิ่มขึ้นสำหรับยาสมุนไพรและการรักษาแบบดั้งเดิม (Traditional)

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.statista.com/outlook/hmo/pharmaceuticals/thailand [2024, November 4].
  2. https://www.facebook.com/marketeeronline/posts/ตลาดยาและเสริมอาหาร/688529656725061/ [2024, November 4].