2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 31

อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease: NCD) เรื้อรัง (Chronic) ของชาวอเมริกันอยู่ในระดับสูง โดยมีรายงานว่าชาวอเมริกัน เสียชีวิตด้วย NCD จำพวกโรคหัวใจ, เบาหวาน (Diabetes), ความดันสูง (Hypertension) สูงถึง 85% (ค่าเฉลี่ยของประชากรโลกอยู่ที่ 61%) ทำให้ชาวอเมริกัน รวมถึงผู้สูงอายุ (Elderly) หันมาใส่ใจกับการบริโภคอาหารมากขึ้น

อาหาร (Diet) ที่ได้รับความนิยม (Popular) คืออาหารที่ลดปริมาณน้ำตาลหรือปริมาณไขมันลง รวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ (Natural food) ศูนย์วิจัยระดับสากล Pew Research พบความน่าสนใจเกี่ยวกับสัดส่วน (Proportion) การครอบครอง (Possess) สินทรัพย์ของชาวอเมริกันในแต่ละช่วงอายุ

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียว (Single living) ในระดับสูง กล่าวคือ สัดส่วนประชากรอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่คนเดียวในประเทศ สูงถึง 27% ของประชากรวัยเดียวกันทั้งหมด เทียบกับค่าเฉลี่ย (Average) ของประชากรโลกที่ 16% จึงมีโอกาส (Opportunity) สูงที่ผู้สูงอายุเหล่านี้จะเลี้ยงสัตว์เลี้ยง (Pet) ไว้เป็นเพื่อนคลายเหงา (Loneliness)

ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกา มีประชากรสุนัข 89.7 ล้านตัว และแมว 139.3 ล้านตัว จึงมีความต้องการนำเข้า (Import) อาหารสัตว์เลี้ยงเป็นจำนวนมากในแต่ละปี การแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ชาวอเมริกันเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น 9% ในบรรดาผู้เลี้ยงสุนัข และ 10% ในบรรดาผู้เลี้ยงแมว

การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้คาดว่า จำนวนครัวเรือน (Household) ที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2563 เพิ่มขึ้น 4% เป็น 71 ล้าน ครัวเรือน ซึ่งนับเป็น 56% ของครัวเรือนทั้งหมดในประเทศ

สหรัฐอเมริกา เป็นแหล่งนำเข้าอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับ 2 ของโลก และเป็นตลาดส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับ 1 ของไทย ด้วย สัดส่วนราว 20% ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวม 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 12,250 ล้านบาท)

ในปี พ.ศ. 2562 อาหารสุขภาพ (Health food) สำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาลต่ำและอาหารไขมันต่ำ เพื่อลดปัญหาน้ำหนักเกิน (Obesity) ของชาวอเมริกัน รวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ (Natural mixture) สินค้าและบริการของไทยที่มีโอกาสจากตลาดผู้สูงอายุชาวอเมริกัน ได้แก่ เวชภัณฑ์ (Medical supplies) เช่น ถุงมือยาง (Medical glove), หลอดฉีดยา (Syringe), และเข็มฉีดยา (Needle) ซึ่งปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกหลักของไทยในสินค้าทั้ง 3 ชนิด

ยิ่งไปกว่านั้น ที่พักแบบยาวนาน (Long stay) หรือสถานดูแลผู้สูงอายุ (Elderly care) โดยอาศัย จุดขายที่ความมีน้ำใจ (Benevolent), ให้บริการด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใสของคนไทย (Thai smile), และสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่า (Warmer weather) ในสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เพียบพร้อมกว่าประเทศเพื่อนบ้าน (Neighboring) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานสากล (International standard) หากมีเหตุเจ็บป่วย

บริษัทวิจัยระดับสากล Euromonitor คาดว่าค่าใช้จ่ายด้านที่พัก, อาหาร, และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ของผู้สูงอายุในญี่ปุ่น (Japanese elderly) จะมีสัดส่วนรวมกันถึง 41% ของค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของผู้สูงอายุ (Elderly household) ในปี พ.ศ. 2583

เหตุผลหนึ่งเกิดจากการที่ชาวญี่ปุ่นมักเลือกซื้ออาหาร และเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งมักมีราคาสูงกว่าสินค้าปกติเช่น น้ำมันมะกอก (Olive) ซึ่งเป็นน้ำมันพืชชนิดดีต่อสุขภาพ, อาหารที่ช่วยระบบการย่อยอาหาร (Digestive system). และอาหารที่ดีต่อการทำงานของหัวใจ (Heart functioning)

แหล่งข้อมูล

  1. https://kmc.exim.go.th/detail/20210121152800/20210322110347 [2024, May 4].
  2. https://www.nber.org/bah/2015no2/medical-spending-elderly [2024, May 4].