10. ตลาดประกันสุขภาพ – ตอนที่ 59

สำนักงานตัวแทนดิจิทัล (Digital Agent Office) รายงานออนไลน์ถึงแนวโน้มประกันสุขภาพในปี พ.ศ. 2568

ปี พ.ศ. 2568 ถือเป็นปีแห่งความท้าทาย (Challenge) และโอกาส (Opportunity) สำหรับธุรกิจประกันสุขภาพ (Health insurance) ในประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ (Significant) เกิดขึ้นหลายประการ ซึ่งส่งผลกระทบ (Impact) ต่อทั้งผู้บริโภคและผู้ให้บริการประกันภัย อันได้แก่

  • การจ่ายร่วม (Copayment)  ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป กรมธรรม์ประกันสุขภาพส่วนมาก จะมีเงื่อนไข (Condition) การร่วมจ่าย ซึ่งหมายความว่าผู้เอาประกันภัย (Insured) จะต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลในบางส่วน การเปลี่ยนแปลงนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดต้นทุน (Cost reduction) ของบริษัทประกันภัย และส่งเสริมให้ผู้บริโภคใช้บริการการแพทย์ทางไกล (Medical service) หรือการปรึกษาทางไกล (Remote consultation) อย่างมีความรับผิดชอบ (Responsibility) มากขึ้น
  • เทคโนโลยีเทคโนโลยีกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรม (Industry) ประกันสุขภาพมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product development) และบริการใหม่ๆ เช่น การให้บริการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Telemedicine), การติดตาม (Monitor) สุขภาพผ่านซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App) บนมือถือ, และการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยง (Risk assessment) และค่าเบี้ยประกัน (Insurance premium)
  • การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (Preventive)  ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมากขึ้น ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ (Health promotion) และการป้องกันโรคเพิ่มขึ้น เช่น โปรแกรมตรวจสุขภาพ (Check-up), โปรแกรมลดน้ำหนัก (Weight loss), และบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ (Health consulting)
  • สังคมสูงวัย (Aging society) ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งส่งผลให้ความต้องการ (Demand) ผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เช่น ประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ (Geriatric), บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (Home care), และเทคโนโลยีที่ช่วย (Assisted) ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

แนวโน้ม (Trend) ที่น่าจับตามอง:

  • ประกันสุขภาพส่วนบุคคล (Individualized)คาดว่าความต้องการประกันสุขภาพส่วนบุคคลจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้คนต้องการความคุ้มครอง (Coverage) ที่ครอบคลุม (Comprehensive) และยืดหยุ่น (Flexible) มากขึ้น
  • ประกันสุขภาพสำหรับกลุ่มเฉพาะ (Specific group) จะมีผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพที่ออกแบบ (Design) มาสำหรับกลุ่มเฉพาะมากขึ้น เช่น ประกันสุขภาพสำหรับผู้หญิง, ประกันสุขภาพสำหรับเด็ก, และประกันสุขภาพสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว (Congenital)

แหล่งข้อมูล

  1. https://digitaloffices.thailife.com/songkiat.sak/articlesแนวโน้มประกันสุขภาพในปี-2568 [2025, June 9].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Health_insurance_marketplace [2025, June 9].