10. ตลาดประกันสุขภาพ – ตอนที่ 34

นอกจากนี้ ยังรวมถึงแบบประกันบำนาญ (Pension insurance) ที่เติบโต +12.84% คิดเป็นสัดส่วน (Proportion) 1.71% ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากสังคมสูงวัย (Aged society) และมาจากค่านิยม (Value) ของการแต่งงานช้า (Delayed marriage) และมีบุตรน้อยลง (Fewer children)

ทำให้คนทั่วไปเริ่มตระหนัก (Aware) ถึงการออมเงิน (Savings) ไว้สำหรับดูแลตัวเองในช่วงหลังเกษียณ (Retirement) มากขึ้น จึงเป็นปัจจัยเร่ง (Accelerate) สำคัญที่ทำให้ภาคธุรกิจบริษัทประกันชีวิต จะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product) ดังกล่าวให้เหมาะสม (Appropriate) กับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถตอบโจทย์ (Response) บนความต้องการ (Demand) และวิถีการใช้ชีวิต (Life style) ของแต่ละบุคคลมากยิ่งขึ้น

ขณะที่ผลิตภัณฑ์ (Product) ประกันชีวิต (Life insurance) ควบการลงทุน (Investment) เติบโตลดลง (Decline) -13.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีเบี้ยประกันภัยรับรวม (Premium revenue) อยู่ที่ 17,201 ล้านบาท และมีสัดส่วน (Proportion) เมื่อเทียบเบี้ยรับรวมทั้งหมดอยู่ที่ 5.73%

การหดตัว (Shrinkage) มาจากความไม่แน่นอน (Uncertainty) ของทิศทางเศรษฐกิจ (Economic direction) ของโลก (World-wide) และภายในประเทศ (Domestic) รวมถึงความผันผวน (Fluctuation) ของอัตราผลตอบแทน (Rate of return) และภาวะอัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate)

ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ ไม่สามารถรับมือ (Handle) กับความผันผวนจากการลงทุน จึงทำให้ชะลอ (Delayed) การตัดสินใจ (Decision-making) ซื้อผลิตภัณฑ์ (Product) ประกันชีวิตควบการลงทุนออกไปก่อน

สำหรับทิศทาง (Direction) ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งปีหลังของปี พ.ศ. 2566 มีปัจจัยส่งเสริม (Supportive factors) ที่ทำให้ภาคธุรกิจประกันชีวิต (Life insurance sector) มีการเติบโตเป็นไปตามที่คาดการณ์ (Expectation) ไว้เมื่อต้นปี

โดยมีการประมาณการ (Estimate) กันว่าภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตปี พ.ศ. 2566 จะมีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 612,500 – 623,500 ล้านบาท เติบโตอยู่ในช่วงระหว่าง 0% ถึง 2% ด้วยอัตราความคงอยู่ (Retention rate) ของกรมธรรม์ประมาณ 81% ถึง 82%

ปัจจัยบวก (Favorable factors) ที่จะสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ (Business growth) คือ ประชาชนเริ่มตระหนัก (Aware) ถึงความสำคัญของการทำประกันชีวิต และสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ (Health insurance) หรือโรคร้ายแรง (Severe diseases) มากขึ้น

นอกจากแนวโน้ม (Trend) ค่ารักษาพยาบาล (Treatment) ที่เพิ่มสูงขึ้น ยังมาจากความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาด (Pandemic) ของโรคอุบัติใหม่ (Emerging) เช่น ไวรัส Covid-19 และมาจากภาคธุรกิจที่ออกนโยบาย (Policy) และมีการบังคับใช้ (Enforcement) แบบมาตรฐานใหม่ (New standards) ของสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ (New health standard)

สัญญาดังกล่าว ที่มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ประชาชนสามารถเปรียบเทียบ (Comparative) ผลิตภัณฑ์และเลือก (Select) ความคุ้มครอง (Coverage) ได้ตามที่ต้องการได้สะดวก (Convenience) รวดเร็ว (Fast) มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ประชาชนเริ่มตระหนักในการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ (Pension) มากขึ้น จากการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัย

แหล่งข้อมูล

  1. ttps://thaipublica.org/2023/07/thai-life-insurance-industry-sees-growth-in-1st-half-premium/ [2024, June 24].
  2. https://www.tlaa.org/ [2024, June 24].