10. ตลาดประกันสุขภาพ – ตอนที่ 28
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 17 มีนาคม 2567
- Tweet
ขณะที่อัตราดอกเบี้ย (Interest rate) ที่เริ่มขยับเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลบวกต่อการลงทุน (Favorable investment) ของภาคธุรกิจประกันภัย (Insurance sector) แต่ถึงวันนี้มุมมอง (Perspective) และแนวคิด (Concept) ของภาคธุรกิจได้เปลี่ยนไป (Changing)
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย มองว่า “แม้ดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ก็มีความผันผวน (Fluctuation) จากสถานการณ์เศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ (Inflation) ที่อยู่ระดับสูง ขณะที่ประกันภัย เป็นธุรกิจของความเชื่อมั่น (Confidence) การบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk management) ดังนั้นการจะออกแผน (Plant) หรือผลิตภัณฑ์ (Product) แต่ละครั้ง จึงต้องคำนึงถึง (Consider) ความสามารถในการจ่ายเงินได้ (Ability to pay) ตามเงื่อนไข (Condition) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตระยะยาว”
ในภาวะที่ดอกเบี้ยขยับขึ้น ภาคธุรกิจก็จะมีประกันสะสมทรัพย์ (Saving) ที่นำเสนอเช่นกัน แต่ก็จะมาแบบปริมาณจำกัด (Limited quantity) เพื่อสามารถคืนผลประโยชน์ได้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ (Policy benefit) เพราะภาคธุรกิจยังต้องคำนึงถึงมาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS (= International financial reporting standard มาตรฐานสากลของการรายงานผลทางการเงิน)
IFRS เป็นตัวแปรสำคัญ (Critical variable) ในการสะท้อนมูลค่าธุรกิจ (Business value) ซึ่งหากพอร์ตการรับประกัน (Insurance port-folio) มีแต่ผลิตภัณฑ์สะสมทรัพย์เป็นหลัก อาจกระทบต่อฐานะการเงิน (Financial status) ได้อย่างคาดไม่ถึง ดังนั้นจึงต้องมีพอร์ตงานที่สมดุล (Balance)
ด้วยปัจจัยดังกล่าว นายกสมาคมประกันชีวิต จึงยังมองว่าภาพธุรกิจปี พ.ศ. 2566 เต็มไปด้วยความท้าทาย แต่ภายใต้ความท้าทายดังกล่าว ยังมีโอกาสเติบโต (Growth opportunity) โดยเฉพาะแบบประกันสุขภาพ (Health insurance) และประกันโรคร้ายแรง (Chronic diseases)
ทั้ง 2 แขนง มีความต้องการ (Demand) ในตลาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปัจจัยค่ารักษาพยาบาล (Health-care cost) ที่สูงขึ้น ความเสี่ยง (Risk) ของการเกิดโรคอุบัติใหม่ (Emerging) แบบครั้งที่เกิดโควิด-19, นวัตกรรม (Innovation) การรักษาที่สูงขึ้น, และก็ตามมาด้วยค่าใช้จ่าย (Spending) ที่มากขึ้น
รวมถึงโครงสร้างสังคม (Social structure) ที่เปลี่ยนไปสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) ซึ่งเป็นวัยที่มาพร้อมความเสื่อมของร่ายกาย (Physical deterioration) ที่ต้องได้รับการดูแลรักษาพยาบาลที่ถี่ (Frequently) ขึ้นกว่าวัยหนุ่มสาว อันหมายถึงค่าใช้จ่ายด้านนี้ที่เพิ่มขึ้น
ในเรื่องนี้ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า สมาคมให้ความสำคัญกับโครงสร้างประชากร (Population) ที่เปลี่ยนไป ด้วยการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุ (Elderly) สามารถเข้าถึง (Access) ความคุ้มครอง (Coverage) ของประกันสุขภาพได้ โดยขยายความคุ้มครองไปถึง 99 ปี ซึ่งมีโอกาส (Opportunity) ที่จะขยายความคุ้มครองไปจนถึง 120 ปี เหมือนที่ประเทศที่พัฒนา (Developed) เริ่มทำแล้ว
แหล่งข้อมูล -
- https://thunhoon.com/article/268940 [2024, March 16].
- https://www.fusionsol.com/blog/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-ifrs/ [2024, March 16].