10. ตลาดประกันสุขภาพ – ตอนที่ 27
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 3 มีนาคม 2567
- Tweet
สมาคมประกันชีวิตไทย (Thai Life Insurance Association) ประเมินความต้องการ (Demand) ตลาดยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ภาพรวมเบี้ยประกัน (Premium) จะทรงตัว หรือโตเพียงเล็กน้อย ด้วยเหตุผลของขนาด (Size) เบี้ยของแต่ละผลิตภัณฑ์ต่างกันมาก รวมถึงสนับสนุนธุรกิจออกแผนคุ้มครอง (Coverage) รับโครงสร้างสังคม (Social structure) ที่เปลี่ยนไป ทั้งขยาย (Extend) อายุรับประกัน และผู้สูงอายุ (Elderly) สามารถซื้อประกันสุขภาพได้
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า ธุรกิจประกันชีวิตยังคงเผชิญ (Encounter) ปัจจัยท้าทาย (Challenge) จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะชะลอตัว (Economic slow-down) ซึ่งแน่นอนว่าย่อมกระทบต่ออุตสาหกรรมประกันภัย (Insurance industry) เช่นกัน ทั้งในเรื่องของการลงทุน (Investment), ความเชื่อมั่น (Confidence) ของผู้บริโภคในการจับจ่ายใช้สอย (Spending) ทำให้ สมาคมประเมิน (Assess) ภาพรวมธุรกิจปีนี้ อาจขยายตัวได้เพียง 2% หรือ ทรงตัวไม่เติบโต 0%
“ในอดีตธุรกิจประกันชีวิตสามารถโตได้เป็น 2 เท่าของ GDP (= Gross domestic product ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) แต่ภาพดังกล่าวเปลี่ยนไปตามปัจจัยท้าทายใหม่ๆ ทั้งเรื่องของกฎระเบียบ (Rule and regulation), มาตรฐานบัญชี (Accounting standard), สถานการณ์เศรษฐกิจ (Economic situation), ความต้องการของผู้บริโภค, ดอกเบี้ย (Interest), ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on investment) เป็นต้น”
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เบี้ยประกันชีวิต (Life insurance) ขยายตัวไม่มากนั้น ภาค (Sector) ธุรกิจประกันชีวิต ชี้แจงอยู่เสมอว่า ประเด็นหลักมาจากการบริหารพอร์ต (Port-folio management) งานรับประกันของภาคธุรกิจ ให้สอดคล้องกับผลตอบแทนจากการลงทุน
ในอดีตที่ผ่านมาพันธบัตร (Bond) และ ตราสารหนี้ (Debt instrument) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ภาคธุรกิจลงทุนเป็นหลักให้ผลตอบแทนที่น้อยมาก ดังนั้น บริษัทประกันชีวิตแต่ละแห่งจึงต้องปรับแผนการขายผลิตภัณฑ์ (Product) จากสะสมทรัพย์ (Saving) มาเน้นความคุ้มครองแทน
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย อธิบายต่อว่า แบบประกันที่เน้นความคุ้มครองนั้น ผู้เอาประกันจ่ายเบี้ยในวงเงินที่น้อยกว่า แบบประกันสะสมทรัพย์ ดังนั้นเมื่อเกิดการปรับเปลี่ยนเบี้ยรับรายใหม่, เบี้ยต่ออายุ (Renewal), และเบี้ยรวม ก็ไม่ได้เข้ามามากเหมือนช่วง 10 ปีก่อน ที่ภาคธุรกิจระดม (Campaign) ขายแต่สะสมทรัพย์
หรือถ้าจะให้เห็นภาพของความแตกต่าง (Differentiation) ในการจ่ายเบี้ย สมาคมยกตัวอย่างเช่น ประกันสุขภาพ (Health insurance) มีเบี้ยประกันที่ต่างจากแบบประกันสะสมทรัพย์ถึง 10 เท่า
“ประกอบกับช่วงเวลานี้ แบบประกันสะสมทรัพย์เริ่มมีการครบอายุสัญญา (Contract expiration) บางกรมธรรม์ก็จ่ายเบี้ยครบสัญญาแล้ว แต่ความคุ้มครองยังคงวิ่งต่อไปตามเงื่อนไข ขณะที่ แบบประกันสะสมทรัพย์ตัวใหม่ๆ ไม่ได้เข้ามาเติม (Fulfill) มากเหมือนอดีต ดังนั้นผลจากปัจจัยดังกล่าวที่เกิดจากอดีตก็ยังคงส่งต่อมาถึงปี พ.ศ. 2566”
แหล่งข้อมูล -
- https://thunhoon.com/article/268940 [2024, March 2].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Portfolio_manager [2024, March 2].