10. ตลาดประกันสุขภาพ – ตอนที่ 18

เมื่อพูดถึงภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่มีการเติบโต (Growth industry) อย่างน่าจับตามอง ธุรกิจประกันภัย (Insurance) [ซึ่งรวมประกันสุขภาพด้วย] ย่อมเป็นหนึ่งในนั้น โดยเฉพาะในแง่การขยายช่องทาง (Channel) นำเสนอผลิตภัณฑ์ (Product) ที่มีนวัตกรรม (Innovation) เข้าสู่ออนไลน์

เคล็ดลับสำหรับธุรกิจประกันภัย ว่าควรเร่งสร้างนวัตกรรมมัดใจลูกค้าด้วยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้อย่างมีกลยุทธ์ พร้อมสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจผ่านการหาพันธมิตรเพื่อให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างครอบคลุม เช่น เข้าไปลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีประกันภัย (Insurtech) เพื่อนำนวัตกรรมที่ได้มาแก้ปัญหาหรือนำเสนอขายสินค้าด้านประกันภัยให้เหมาะสม

ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ (Web-stie), ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App), การขายออนไลน์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ต่างๆ รวมไปถึงการรณรงค์ (Campaign) กรมธรรม์ (Policy) รูปแบบใหม่ๆ ที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึง (Access) ผลิตภัณฑ์ประกันภัยได้ง่ายขึ้น

จากประสบการณ์ของ บลูบิค (Bluebik) ในฐานะบริษัทให้คำแนะนำกับธุรกิจประกันภัย พบว่า การขายประกันภัย (โดยเฉพาะประกันสุขภาพ) ที่ลูกค้าสามารถหาข้อมูลได้จากช่องทางออนไลน์ต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบราคาประกัน และเลือกซื้อประกันที่เหมาะสมกับตนเองได้ ถือเป็นเรื่องที่บริษัทประกันภัยไทยสามารถทำได้ดี

แต่หากอยากขยับเข้าไปสู่การรู้จักและเข้าใจความรู้สึกลูกค้ามากขึ้นไปอีก (Customer centric) เพื่อตอบรับความต้องการใหม่ๆ ในอนาคตให้ดีขึ้นกว่าเดิม การปรับตัวเอาเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มศักยภาพธุรกิจ (Digital transformation คือ) สิ่งที่ธุรกิจประกันของไทยควรให้ความสำคัญมากขึ้น

โดยเฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูล (Data analytics) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) มาช่วยวิเคราะห์พฤติกรรม (Behavior) และความต้องการ (Demand) ของลูกค้า ซึ่งจากประสบการณ์ของบลูบิค พบว่า ธุรกิจประกันภัยในไทยยังไม่ได้นำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ (Potential) ใน 3 ส่วน อันได้แก่ การรับประกัน (Underwriting), การเคลม (Claim), และการต่ออายุประกัน (Renewal) 

ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด (Highly competitive) ในอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัล (Digital) รวมถึงล่าสุดจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้หลายบริษัทในภาคอุตสาหกรรม ต่างเร่งค้นหาแนวทางเพื่อปรับกลยุทธ์ (Strategy) การดำเนินธุรกิจ

อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ทุกบริษัทจะประสบความสำเร็จในการดำเนินการดังกล่าว เนื่องด้วยข้อจำกัด (Limitation) เรื่องต้นทุน, ศักยภาพ (Potential) ของบุคลากร, และข้อเสียเปรียบ (Disadvantage) ในด้านอื่นๆ ดังนั้น การปรับใช้เทคโนโลยีอย่างมีกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต้องทำ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจขยายตัวอย่างยั่งยืน (Sustainable)

แหล่งข้อมูล -

  1. https://www.investopedia.com/terms/i/insurtech.asp [2023, October 28].
  2. https://bluebik.com/th/insights/2304 [2023, October 28].