10. ตลาดประกันสุขภาพ – ตอนที่ 11
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 23 กรกฎาคม 2566
- Tweet
อัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ (Medical Inflation) คือการเพิ่มขึ้นของค่ารักษาพยาบาลรายปี อันเนื่องมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยเฉพาะด้วยนวัตกรรม (Innovation) ทางการแพทย์ขั้นสูงขึ้น (Advanced) ต้นทุน (Cost) ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมดังกล่าว ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ในปีที่ผ่านๆ มา อัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ (Medical inflation) รวมของไทยอยู่ที่ 7.0%, 7.5% และ 8.0% ในปี พ.ศ. 2562, 2563, และ 2564 ตามลำดับ ซึ่งน่าจะพยากรณ์ได้ว่า เป็น 8.5% และ 9.0% ในปี พ.ศ. 2565 และ 2566 ตามลำดับ
หากแนวโน้ม (Trend) ของอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ดังกล่าว ยังคงดำเนินต่อไป ค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มขึ้น เป็น 2 เท่าภายใน 8 ถึง 10 ปีข้างหน้า ด้วยเพียงปัจจัยนี้เดียว ธุรกิจประกันสุขภาพ (Health insurance) จะได้อานิสงส์ที่เป็นบวก เนื่องจากผู้คนจะพยายามหลีกเลี่ยงค่ารักษาพยาบาลที่สูงเกินไป
การระบาดใหญ่ไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัส COVID-19 ได้เน้นย้ำ (Stress) ถึงความจำเป็นในการซื้อประกันเพื่อคุ้มครองชีวิต [ซึ่งรวมทั้งสุขภาพด้วย] เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต (Mortality) ก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลตามมา (Consequence) ต่อเศรษฐกิจ (Economy) และประชากร (Demographics) ด้วย
ธุรกิจประกันชีวิต [ซึ่งครอบคลุมสุขภาพด้วย] จำเป็นต้องมีการปรับตัว เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอัตราเบี้ยประกัน (Premium) ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
- สัญญาประกันชีวิต ที่ยังมีผลบังคับอยู่ (In-force policy)
- บริษัทประกันชีวิต ปรับอัตราเบี้ยประกันให้สูงขึ้น เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่เท่าเดิม (Fixed guarantee)
- สัญญาประกันภัยฉบับใหม่ (New-business policy)
- บริษัทประกันชีวิตปรับอัตราเบี้ยประกันให้ลดลง เพื่อให้สอดคล้องกับผลตอบแทน ที่จะถูกปรับลดลงเนื่องจากผลตอบแทนการลงทุน (Return on investment) ของบริษัทที่ลดลง
ผลกระทบ (Impact) ที่เกิดขึ้นจากสภาวะที่ต่ำของอัตราดอกเบี้ยนั้น ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตจำเป็นต้องมีการของปรับตัว ซึ่งขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ของสัญญา (Policy benefit) อันมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ผลประโยชน์สัญญาแบบเก่า ในเรื่องการคืนเงิน
- รับประกัน (Guarantee) ผลประโยชน์ของเงินที่คืน ในรูปแบบของการแจกคูปอง (Coupon) ส่วนลด
- ผลประโยชน์ของสัญญาแบบใหม่ ในเรื่องการคืนเงิน
- รับประกันผลประโยชน์ของเงินที่คืน ในรูปแบบของคูปอง
- ไม่รับประกันผลประโยชน์ของเงินที่คืน ในรูปของเงินปันผล (Dividend)
แหล่งข้อมูล -