14. ตลาดธุรกิจฟิตเน็ส-เว็ลเน็ส - ตอนที่ 25
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 8 กุมภาพันธ์ 2567
- Tweet
- กลุ่มบริการดูแลเพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ (Feminine care)
อาจจะเป็นธุรกิจที่ฟังดูแปลกๆ (Strange) แต่ไม่น่าเชื่อว่ามีผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ที่ทำธุรกิจด้านนี้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ของผู้หญิงโดยเฉพาะ เช่น กิจการยี่ห้อ LOLA ที่พัฒนาสินค้าเพื่อสุขภาพสำหรับเพศหญิง เป็นต้น
- กลุ่มงานเพื่อสุขภาพ (Functional Health)
ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ จะเสนอบริการในรูปแบบดิจิทัล (Digit) โดยแพลตฟอร์ม (Platform) ด้านสุขภาพที่ผสมผสาน ทั้งเรื่องสุขภาวะสมบูรณ์ (Wellness) และเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพในหลากหลาย (Variety) รูปแบบไว้ด้วยกัน หรือนำ Health Tech ซึ่งเป็นเทคโนโลยีให้กลายมาเป็นเครื่องมือทำธุรกิจ Health and Wellness เช่น บริษัท อี ฟอร์ แอล จำกัด (มหาชน) หรือ ‘EFORL’ ที่พยายามผลักดันให้โรงพยาบาลในเมืองไทยใช้ระบบการแพทย์ทางไกล (Tele-medicine) ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยกันได้แบบเวลาจริง (Real time) เช่นเดียวกับการสื่อสารผ่านระบบประชุมออนไลน์ (VDO conference) อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App) ที่ชื่อ ‘Smile Migraine’ โดยเป็น App. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามอาการปวดศีรษะเรื้อรังและวัดระดับความรุนแรงของโรคนี้ สามาโดยสามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญได้อย่างสะดวก ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere, anytime) ในขณะเดียวกัน บริษัท อาร์ไอเอ แลบบอราทอรี่ (RIA Laboratory) จำกัด ห้องเป็นห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์แถวหน้าของเมืองไทย ได้นำระบบสารสนเทศห้องปฏิบัติการ (Laboratory information system: LIS) มาใช้ในการเชื่อมต่อข้อมูลแบบครบวงจร (One-stop service) โดยสามารถตรวจสอบผลการตรวจได้ตลอดเวลาอีกด้วย
- กลุ่มอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce)
ในกลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มกิจการเปิดใหม่ (Start-up) ที่เน้นการขายสินค้าและบริการ ที่ส่งเสริมสุขภาพในองค์รวม (Holistic) เช่นยี่ห้อ Brandless ที่มีความตั้งใจขายสินค้าที่ดีกว่า แต่สามารถเข้าถึงได้ในราคาไม่แพง (Affordable)
ด้วยความที่ตลาด Health and Wellness เติบโตต่อเนื่อง จึงเกิดคู่แข่ง (Competitor) ทางธุรกิจค่อนข้างสูงตามไปด้วย ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive advantage) ของธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (Small and medium-sized enterprise: SME) ของไทยในบริการด้านสุขภาพ ให้ได้คุณภาพมาตรฐาน (Quality standard) และสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเอกลักษณ์โดดเด่น (Uniqueness) จากภูมิปัญญาไทย (Thai wisdom) อัตลักษณ์ (Identity) ของไทย จึงควรมี 2 กลยุทธ์ที่ช่วยให้แข่งขันได้และเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainability) ดังนี้
- การพัฒนายกระดับธุรกิจบริการด้านสุขภาพภาคธุรกิจไทย
ด้วยเหตุที่ธุรกิจบริการด้านสุขภาพมีแนวโน้มเติบโตจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น กระแสรักสุขภาพ, สังคม, และผู้สูงอายุ จึงจำเป็นต้องสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ (Entrepreneur) และ SME ในธุรกิจบริการด้านสุขภาพที่มีองค์ความรู้ (Body of knowledge) เกี่ยวกับบริการอย่างแท้จริง พร้อมประยุกต์เข้ากับอัตลักษณ์, ภูมิปัญญา, หรือวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value-added) และความแตกต่าง (Differentiation) ให้กับบริการ ควบคู่ไปกับความรู้ด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ ตลอดจนพัฒนาแรงงาน เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยมีแนวทางการส่งเสริมดังนี้
แหล่งข้อมูล –
- https://www.bangkokbanksme.com/en/7sme1-health-and-wellness-mega-trend-grows-strong [2024, February 7].
- https://globalwellnessinstitute.org/press-room/statistics-and-facts/ [2024, February 7].