12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 31
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 16 พฤษภาคม 2567
- Tweet
สำหรับปี 2567 รีโว่เมด มีการตั้งเป้าให้เติบโต (Growth target) มากขึ้น สอดรับกับแนวโน้ม (Trend) เติบโตของแวดวงอุตสาหกรรม โดยได้ดำเนินการแล้ว คือ การเปิดตัว REVOMED Group และ BENOVA MYANMAR ที่ประเทศเมียนมา (Myanmar) ในฐานะจุดหมายปลายทางผลิตภัณฑ์ความงาม (Beauty) ยอดนิยม (Most popular) ของเอเชีย
จุดประสงค์ (Objective) ก็คือต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมสุขภาพและความงามในเมียนมา ผ่านการสร้างการรับรู้ (Awareness building) นอกจากนี้ ยังจะมีโครงการ (Project) ที่อยู่ภายใต้กลยุทธ์ความร่วมมือ Collaboration กับหลายประเทศทั่วโลก (World-wide)
หน่วยงานภาครัฐ (Public) และเอกชน (Private) ตลอดปี พ.ศ. 2024 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มรีโว่เมด (REVOMED Group) และ บีโนว่า โกลบอล (BENOVA Global) ก้าวสู่ผู้นำอุตสาหกรรมรับจ้างผลิดต OEM (= Original Equipment Manufacturer) และ ODM (= Original Design Manufacturer)
และส่งเสริมให้ประเทศในฝั่งอาเซียน (ASEAN = Association of South-East Asia Nations) และประเทศไทย เป็นดินแดนแห่งความสวยงา (Land of beauty) ส่งเสริมอำนาจละมุน (Soft power) ผลักดันการลงนามบันทึกข้อตกลง (Memorandum of understanding: MOU) ความร่วมมือทางวิชาการ (Academic collaboration)
นับเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพและ (Health and beauty) และป้องกันโรค (Disease prevention) ครั้งใหญ่ของประเทศไทย
“รีโว่เมด มีเป้าหมายในการนำส่ง (Delivery) นวัตกรรม (Innovation) และงานวิจัย (Research) ผ่านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ประชาชนคนไทยและผู้ประกอบการ (Entrepreneur) โดย คณะสาธารณสุขศาสตร์ (Faculty of Public Health)มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการศึกษาวิจัย . . .
. . . ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (Quality) มีหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based) ที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ (Efficiency) ของผลิตภัณฑ์ที่นำไปสู่ผู้บริโภค และส่งออก (Export) ต่างประเทศต่อไป โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพตัวแรก คือ กาแฟชะลอวัย (Anti-aging coffee) ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาโดย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล”
“กาแฟชะลอวัย” เป็นกาแฟท้องถิ่นจากเกษตรกร จ. น่าน ที่ ภาควิชาโภชนวิทยา (Nutrition science), คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการศึกษา, วิจัย, และพัฒนา ซึ่งผลการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Oxygen radical absorbance capacity: ORAC) เทียบเท่ากับมะเขือเทศ (Tomato) ถึง 15 ผล
นอกจากนี้ ทางทีมวิจัยยังมีการศึกษาลงลึกในระดับเซลล์ อันได้แก่ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Anti-Inflammation) โดยดูตัวชี้วัด TNF- α (= Tumor necrosis factor-alpha ซึ่งใช้รักษาโรคไขข้ออักเสบ) และ PGE2 (= Prostaglandin E2 ซึ่งยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้) รวมทั้ง ฤทธิ์ต้านเซลล์ชรา (Anti-aging) โดยวัดผลกระทบชะลอดวัย (Anti-senescence effect) พร้อมทั้งเตรียมขยายผลต่อยอดผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยต่อไปเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศให้เติบโตไปพร้อมกัน
แหล่งข้อมูล –