12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 29
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 2 เมษายน 2567
- Tweet
ศูนย์ดูแลรักษาสุขภาพ แบบบูรณาการ (Integrative medicine) ได้วิวัฒนามาจากคลินิก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เปิดเผยว่า ปัจจุบันมูลค่าตลาดอาหารเสริม (Food supplement) วิตามินต่างๆ มีมูลค่าต่อปีสูงถึง 80,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง เพราะการเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging society) ที่ทำให้คนอายุยืนยาว (Longevity) ขึ้น
การตระหนัก (Awareness) ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากขึ้น หลังเกิดโรคระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ทำให้การตรวจสุขภาพประจำปี (Annual check-up) ที่เน้นตรวจหาโรคที่เกิดขึ้นแล้ว จึงอาจไม่เพียงพอสำหรับคนที่พอมีกำลังในการพยายามดูแลสุขภาพในเชิงป้องกัน (Preventive)
การไม่รอให้ป่วยก่อนแล้วค่อยเข้าไปรักษา เพราะอาจสายเกินไป ส่งผลให้ตลาดอาหารเสริม และบริการเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation medicine) เติบโตมากขึ้นทั่วโลก (World-wide) ไม่เฉพาะแค่ในประเทศไทย
ศูนย์ดูแลสุขภาพดังกล่าว ได้ตั้งเป้าเข้าตลาดหุ้นเพื่อขยายกิจการ เนื่องจากประเทศไทยมีจุดแข็ง (Strength) ในการเป็นศูนย์กลางของสุขภาพและสุขภาวะ (Health and wellness) โดยมีบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานสูง, ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ (International acceptance), และมีแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Specialist) จำนวนมาก
ในภาพรวม (Overall) ความพร้อมเกิดการมีโรงพยาบาล, ศูนย์การแพทย์ (Medical center), และมีเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ที่ทันสมัย มีธุรกิจสปา (Spa business) มาตรฐานระดับโลก (Global standard) ขณะที่รัฐบาลไทยให้การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical tourism) และผลักดัน (Drive) ให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางของสุขภาพและสุขภาวะ หรือเป็นจุดหมายปลายทางของสุขภาวะ (Wellness destination)
ดังนั้น ศักยภาพ (Potential) ของมูลค่าตลาดมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก อุตสาหกรรมสุขภาพและสุขภาวะของไทยอยู่ในอันดับ 4 ของเอเชีย และติด 1 ใน 10 ของโลก มีชาวต่างชาติทั่วโลกมาใช้บริการอย่างล้นหลาม ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ปี พ.ศ. 2562 พบว่า บริการสุขภาพและสุขภาวะของไทยมีมูลค่าสูงปีละ 400,000 ล้านบาท ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนมีการจ้างงานมากกว่า 500,000 คน
ปัจจุบัน ศูนย์ดูแลสุขภาพดังกล่าว ได้รับความสนใจจากชาวจีนจำนวนมาก จึงเกิดแผนที่จะนำศูนย์ฯ ระดมทุนเข้าตลาดหุ้น (Initial public offering: IPO) เพื่อขยายบริการให้ครอบคลุม (Comprehensive) ในขณะเดียวกันมีการจับมือกับกลุ่มบริการด้วยอัธยาศัย (Hospitality) โดยได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว 1 แห่ง คือ โรงแรมในภูเก็ต
ศูนย์ฯ ยังมีแผนทำระบบสัมปทาน (Franchise) ร่วมกับคลินิกต่างๆ ที่สนใจ โดยเปิดเป็นคลินิกชะลอวัย (Anti-aging clinic) แบบครบวงจรร่วมกัน โดยมีการเริ่มดำเนินการความร่วมมือดังกล่าวไปแล้ว 1 แห่ง ที่หาดใหญ่ และจะขยายรูปแบบ (Model) นี้ไปทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ศูนย์ฯ จะขยายการบริการด้านกายภาพบำบัด (Physical therapy) ไปตามบ้าน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการ และตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแล (Elderly care) อย่างใกล้ชิดมากขึ้นด้วย
แหล่งข้อมูล –