12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 16
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 3 ตุลาคม 2566
- Tweet
ผู้บริหาร (เจ้าของ) พึงพิจารณาจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย มาใช้ในการตรวจรักษาคนไข้ คลินิกเสริมความงาม (Aesthetics) หากพิจารณาแล้วว่าเครื่องใหม่ที่จะซื้อเข้ามามีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเครื่องเก่าและ สามารถนำมาทำการตลาดได้ โดยเครื่องเก่านำไปขายเป็นค่าซาก (Salvage value) เพื่อนำเงินสดหมุนเวียนกลับมายังบริษัท
รวมถึงคงไว้ในการใช้เครื่องที่มีมาตรฐานรับรอง (Certified standard) ทุกเครื่องในการใช้รักษา ผู้บริหารต้องคอยปรับปรุงให้ทันกาล (Update) ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการรักษาต่างๆ แก่พนักงานในร้าน เพื่อให้พนักงานมีความรู้ (Knowledgeable), สามารถเปรียบเทียบ, และอธิบายแก่ลูกค้าได้
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity risk) ที่คาดการณ์ว่าอาจจะเกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิด (Unexpected) เนื่องจากธุรกิจคลินิกเสริมความงามต้องลงทุน (Investment) กับอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการรักษาเป็นหลัก ในราคาที่ค่อนข้างสูง (Expensive) ทำให้เงินลงทุนไปจมอยู่กับตัวอุปกรณ์ หากมีกรณีฉุกเฉิน (Emergency) ที่จะต้องใช้เงินสดจะไม่สามารถขายเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ โดยเฉพาะกรณี ไม่มีเงินสดสำหรับค่าใช้จ่ายในการบริหาร เช่น เงินเดือนพนักงาน (Payroll) และ ค่าเช่าพื้นที่ (Rental)
ผู้บริหาร (เจ้าของ) จึงต้องหมั่นตรวจสอบระบบบัญชี โดยเฉพาะกระแสเงินสด (Cash flow) จากรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการผิดพลาดของพนักงานหรือจากกระบวนการใดๆ และประมาณการ (Estimate) กระแสเงินสดเข้า-ออก (Cash inflow-cash outflow) ของธุรกิจรายสัปดาห์ เพื่อให้สามารถควบคุม (Control) การพยากรณ์ (Forecast) ความต้องการเงินสดในอนาคตและควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณ (Budget) โดยเพิ่มยอดขายและลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อให้ธุรกิจมีรายได้จากการขายต่อเดือนสูงกว่ารายจ่ายและมีกระแสเงินสดรับสุทธิเป็นบวก (Positive net cash-flow) เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีปัญหาสภาพคล่อง
- ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risk) ที่คาดการณ์ว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ มีดังนี้
-
- การควบคุมคุณภาพบริการ ซึ่งธุรกิจการให้บริการอาจเกิดความผิดพลาด ระหว่างพนักงานผู้ให้บริการและลูกค้าที่เข้ารับบริการ ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจ (Dis-satisfaction) แนวทาง (Guideline) ควบคุมความเสี่ยง ก็คือใช้การติดตามผล (Follow-up) หลังการใช้บริการอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า (Customer intimacy) ทุกรายทางช่องทางโทรศัพท์ หรือสื่อสังคม (Social media) เช่น Line เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการใช้บริการ รวมถึงให้เชิญชวนให้ลูกค้าทำแบบประเมิน (Evaluate) ความพึงพอใจ โดยมอบส่วนลด (Discount) หรือส่งเสริมการตลาด (Marketing promotion) หากเข้าร่วมการทำแบบประเมินเพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูล (Data base) และนำมาพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการบริการ (Service quality) อย่างต่อเนื่อง
- ให้ความสำคัญกับคุณภาพการรักษา (Treatment quality) โดยคัดเลือกแพทย์ที่มีประสบการณ์ความชำนาญในการรักษา (Specialist) รวมถึงเลือกใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐาน (Standard) และฝึกอบรมแพทย์ (Clinician training) เกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆ ที่ เกี่ยวกับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
แหล่งข้อมูล –
- https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4256/1/TP%20050%202564.pdf [2023, October 2].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Market_risk [2023, October 2].