
9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 59
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 9 มิถุนายน 2568
- Tweet
ส่วน Qure.ai ซึ่งเป็นบริษัทก่อตั้งใหม่ (Start-up) ในอินเดียสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation) การวิเคราะห์ภาพทางด้านรังสี (Imaging) ที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) และมีระบบประมวลผล (Processing) การสแกนกระดูกภายใน 20 วินาที ที่มีความแม่นยำ (Precision) สูง เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการแบบเดิม (Conventional)
จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า นักลงทุนล้วนให้ความสำคัญกับนวัตกรรมทางการแพทย์ ที่ขับเคลื่อน (Driven) ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) และในปี ค.ศ. 2024 นี้ มีตัวเลขคาดการณ์ (Estimate) กันว่า มูลค่าตลาด (Market value) ของการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific: APAC) อยู่ที่ประมาณ 35,460 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,170,180 ล้านบาท)
และอีก 5 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้น 14.61% หรืออยู่ที่ 70,000 ล้านเหรีญสหรัฐ (ประมาณ 2,310,000 ล้านบาท) ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ทางด้านธุรกิจสุขภาพจำเป็นต้องปรับตัว (Adjust) พร้อมรับการตอบโจทย์ (Solution) ทางด้านเทคโนโลยี ควบคู่ (Couple) ไปกับการสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ (Strategic collaboration) เพื่อพัฒนาศักยภาพ (Potential)
รวมทั้งขยายการบริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ (Demand) ของผู้บริโภคอย่างครบครัน (Comprehensive) อันจะเป็นการเสริมสร้างอนาคตที่มั่นคง (Secure) และแข็งแกร่ง (Robust) ของตลาดการแพทย์ทางไกล ต่อไป
ในอีกมิติหนึ่ง มูลนิธิเพื่อการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ รายงานออนไลน์ว่า
การแพทย์ทางไกล หรือโทรเวชกรรม (telemedicine) คือการสื่อสารหรือส่งข้อมูลทางการแพทย์จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บริการทางการแพทย์ ได้แก่ การตรวจวินิจฉัย การรักษา การพยาบาล การป้องกันโรค การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ
โรงพยาบาลในประเทศไทยให้บริการทางการแพทย์ทางไกลผ่านหลากหลายช่องทาง ทั้งผ่านแอปพลิเคชันสำหรับการแพทย์ทางไกล แอปพลิเคชันไลน์ และผ่านการโทรศัพท์
กลุ่มโรคที่ใช้บริการการแพทย์ทางไกลมากที่สุด คือกลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตลำฤติกรรม
การแพทย์ทางไกลสามารถใช้เพื่อให้บริการในผู้ป่วยกลุ่มอื่นได้ เช่น บริการฝึกฟังฝึกพูดในผู้ที่สูญเสียการได้ยิน บริการแจ้งผลการตรวจในผู้ที่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ฯลฯ
การให้บริการการแพทย์ทางไกลในประเทศไทยยังพบปัญหาและประเด็นท้าทายที่มาจากหลายปัจจัย เช่น ด้านบุคคล ด้านงบประมาณ ด้านเทคโนโลยี หรือในด้านกระบวนการให้บริการก็ตาม ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาการแพทย์ทางไกลเป็นไปได้อย่างยั่งยืน จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนและคำนึงถึงปัจจัยในด้านต่างๆ ต่อไป
แหล่งข้อมูล –