ดริ๊งค์รวดตายเร็ว (ตอนที่ 2)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 18 ตุลาคม 2562
- Tweet
นพ.สุวรรณชัย กล่าวถึงวิธีการช่วยเหลือคนเมา คือ ทำให้รู้สติไว้ตลอด เราจะรู้ว่าเขาหายใจอยู่หรือไม่ รู้สึกตัวหรือไม่ ถ้ารู้สึกตัวไม่สำลัก ก็ให้ดื่มน้ำมากๆ แต่ต้องระวังสำลัก ซึ่งจะช่วยเจือจางแอลกอฮอล์ในระบบทางเดินอาหารและกระแสโลหิต ถ้าเริ่มหมดสติต้องดูว่าหายใจหรือไม่ ถ้าไม่หายใจหากมีความสามารถก็ทำการกู้ชีพอย่างถูกวิธี หากไม่รู้ต้องหาคนช่วยหรือโทร. 1669 และคอยระวังว่า มีภาวะสำลักหรือไม่ หายใจอยู่หรือไม่ อย่าทิ้งตัวคนเมาหมดสติไว้ตามลำพัง
การดื่มหนักแบบรวดเดียว หรือที่เรียกว่า การดื่มแบบบินจ์ (Binge Drinking) เป็นการดื่มที่มีปริมาณมากเกินและอาจมีค่าเทียบเท่าชีวิตที่ต้องสูญเสียไป
การดื่มแบบบินจ์มีผลต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ที่พบบ่อย เช่น การเมาค้างในวันรุ่งขึ้น จากงานศึกษาในปี พ.ศ.2558 ของ The Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ในสหรัฐอเมริกาพบว่า ชาวอเมริกันทุกๆ 6 คน จะมีการดื่มแบบบินจ์อยู่ 1 คน ซึ่งรวมทั้งปีจะมีมูลค่าการดื่มแบบบินจ์อยู่ที่ $17 พันล้าน
สำหรับผู้ที่มีขนาดร่างกายปกติ ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ตับจะสามารถสลายแอลกอฮอล์ได้ 1 แก้ว ดังนั้น หากมีการดื่มมากกว่า 1 แก้ว ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด (Blood alcohol concentration: BAC) จะสูงขึ้น และมีผลต่อร่างกาย ส่วนปัจจัยอื่นที่อาจมีผลต่อค่า BAC เช่น ความเร็วในการดื่ม การมีออาหารอะไรรองท้องในกระเพาะอาหาร อายุ เพศ เป็นต้น
The National Institute on Alcohol Abuse and AlcoholismExternal ได้ให้คำจำกัดความของการดื่มแบบบินจ์ว่า เป็นการดื่มที่ทำให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด (BAC) อยู่ที่ 8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่า
หรือเทียบเท่ากับผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮอล์ 5 แก้วขึ้นไป หรือผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์ 4 แก้วขึ้นไปภายในเวลา 2 ชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่ดื่มแบบบินจ์มักจะไม่ใช่ผู้ที่ติดสุราแต่อย่างใด (Not alcohol dependent)
การดื่มแบบบินจ์เป็นที่นิยมกันระหว่างวัยรุ่นอายุ 18-34 ปี และเป็นที่นิยมให้หมู่ผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเป็น 2 เท่า
ผู้ดื่มแบบบินจ์จะสามารถรับรู้ถึงผลของแอลกอฮอล์ได้ภายใน 5-10 นาทีหลังการดื่ม ซึ่งร้อยละ 90 ของแอลกอฮอล์ในเลือดจะไปอยู่ที่ตับ ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางปอด ไต หรือ เหงื่อ
การดื่มแบบบินจ์มีความเสี่ยงต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น
แหล่งข้อมูล:
- หมอชี้ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากอันตรายสูง! ยิ่งดื่มเพียว ดื่มผสม ดื่มท้องว่างยิ่งดูดซึมเร็ว. https://www.hfocus.org/content/2019/09/17786 [2019, October 17].
- Fact Sheets - Binge Drinking. https://www.cdc.gov/alcohol/fact-sheets/binge-drinking.htm [2019, October 17].
- What Happens to Your Body When You Binge Drink. https://www.healthline.com/health-news/what-happens-to-your-body-when-you-binge-drink#1 [2019, October 17].