ซิมพาโทมิเมติค (Sympathomimetic drug)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 3 กุมภาพันธ์ 2561
- Tweet
- บทนำ
- ยาซิมพาโทมิเมติคมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาซิมพาโทมิเมติคมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาซิมพาโทมิเมติคมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาซิมพาโทมิเมติคมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาซิมพาโทมิเมติคมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาซิมพาโทมิเมติคอย่างไร?
- ยาซิมพาโทมิเมติคมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาซิมพาโทมิเมติคอย่างไร?
- ยาซิมพาโทมิเมติคมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- ไมเกรน (Migraine)
- ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
- โรคหืด (Asthma)
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคซีโอพีดี (COPD, Chronic obstructive pulmonary disease)
บทนำ
ยาในกลุ่มซิมพาโทมิเมติค (Sympathomimetic drug) ชื่ออื่น เช่น Adrenergic drug, Adrenergic amine, Adrenomimetic amine, Sympathetic amine, Sympathetomimetic amine, เป็นยาที่สามารถออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเช่น สมอง และประสาทส่วนปลายในอวัยวะของร่างกายหลายระบบเช่น การเต้น ของหัวใจ การไหลเวียนของเลือด การบีบตัวของหลอดเลือด การขยายของหลอดลม เป็นต้น
หากจะแบ่งยาในหมวดนี้ตามการออกฤทธิ์ที่ตัวรับ (Receptors) แต่ละชนิด ซึ่งมีอยู่ที่ระบบประสาททั่วไปในร่างกาย สามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภทดังนี้
1. การออกฤทธิ์ต่อตัวรับ ซีเลคทีฟ แอลฟา-1 (Selective Alpha-1 receptor) โดยส่งผลต่อการหดตัวของหลอดเลือด การขยายของรูม่านตา ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้เช่น Phenylephrine, Methoxamine, Cirazoline, Metazoline
2. ออกฤทธิ์ต่อตัวรับ ซีเลคทีฟ แอลฟา-2 (Selective Alpha-2 receptor) โดยส่งผลต่อการทำงานของสมองและไขสันหลัง รวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตของร่างกาย ตัวอย่างยา ในกลุ่มนี้เช่น Clonidine, Guanabenz, Oxymetazoline, Methylepinephrine
3. ออกฤทธิ์ต่อตัวรับ ซีเลคทีฟ เบต้า-1 (Selective Beta-1 receptor) โดยส่งผลด้านการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ถูกนำมาช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้เช่น Dobutamine, Prenalterol, Xamoterol
4. ออกฤทธิ์ต่อตัวรับ ซีเลคทีฟ เบต้า-2 (Selective Beta-2 receptor) ส่งผลต่อการทำงานของกล้าม เนื้อเรียบ นำมาใช้รักษาอาการโรคหืดและโรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้เช่น Salbuta mol, Turbutaline, Ritodrine, Salmeterol, Clenbuterol, Fenoterol
5. ออกฤทธิ์ต่อทั้งตัวรับ นอนซีเลคทีฟ แอลฟา และเบต้า (Non-Selective Alpha and Beta receptor) ส่งผลต่อกลไกของความดันโลหิตลดหรือเพิ่มความดันโลหิต, ออกฤทธิ์ต่อศูนย์ควบคุมความหิวในสมองช่วยลดน้ำหนัก, ออกฤทธิ์ต่อกล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมทำให้หลอดลมคลายตัว เป็นต้น ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้เช่น Epinephrine, Norepinephrine, Dobutamine, Ephedrine, Amphetamine
6. ออกฤทธิ์ต่อตัวรับโดพามีน (Dopamine receptor stimulants) ส่งผลต่อสมองในฐานะสารสื่อประ สาทและการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายเช่น ขยายหลอดเลือด การหลั่งอินซูลิน การย่อยอาหาร ลดการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหาร มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เพิ่มการขับเกลือโซ เดียมและปัสสาวะออกจากร่างกาย เป็นต้น ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้เช่น Dopamine, Bromocryptine
ยาซิมพาโทมิเมติคมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาซิมพาโทมิเมติคมีสรรพคุณดังนี้
- รักษาโรคหัวใจเช่น หัวใจล้มเหลว
- ช่วยเพิ่มหรือลดความดันโลหิตของร่างกาย
- รักษาโรคหืดชนิดเฉียบพลันและโรคหืดที่เป็นระดับรุนแรง
- รักษาโรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง
- ใช้เป็นยาลดน้ำมูก บรรเทาอาการคัดจมูก อาการไอ
- ใช้ขยายรูม่านตา
- รักษาไมเกรน
- บรรเทาอาการปวดของโรคมะเร็ง
- ป้องกันการคลอดบุตรก่อนกำหนด
- รักษาอาการของโรคพาร์กินสัน
- ใช้ลดน้ำหนัก
- เป็นส่วนผสมในยาชาเฉพาะที่เพื่อลดการดูดซึมของยาชาเข้าสู่หลอดเลือด
ยาซิมพาโทมิเมติคมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ด้วยยาในกลุ่มนี้สามารถออกฤทธิ์ได้ทั้งกับสมองและกับระบบการทำงานของระบบประสาทหลายอย่าง อาจกล่าวโดยภาพรวมได้ว่า สารพวกซิมพาโทมิเมติคจะเข้าจับกับตัวรับ (Receptor) ต่างๆของระบบประสาท ไม่ว่าจะเป็นแอลฟา-รีเซพเตอร์ (Alpha receptor) เบต้า-รีเซพเตอร์ (Beta receptor) และโดพามีน-รีเซพเตอร์ (Dopapine receptor) มีผลทำให้อวัยวะตลอดจนระบบการทำ งานต่างๆของร่างกายตอบสนองต่อสารซิมพาโทมิเมติคแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป จึงทำให้เกิดฤทธิ์ของการรักษาตามสรรพคุณ
ยาซิมพาโทมิเมติคมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาซิมพาโทมิเมติคมีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้
- ยาหยอดตา ขนาดความเข้มข้น 2.5 และ 10 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร
- ยาเม็ด ขนาด 0.075, 0.15 และ 2 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาน้ำ ขนาด 2 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร
- ยาฉีด ชนิดหยดเข้าหลอดเลือดขนาด 250 และ 500 มิลลิกรัม/250 มิลลิลิตร
- ยาฉีด ชนิดหยดเข้าหลอดเลือดขนาด 250 มิลลิกรัม/20 มิลลิลิตร
- ยาชนิดสูดพ่น ขนาด 100 ไมโครกรัม/การพ่นยา 1 ครั้ง
- ยาชนิดสูดพ่น ขนาด 5 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
- ยาชนิดสูดพ่น ที่ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร
- ยาชนิดสูดพ่น ที่บรรจุตัวยา 2.5 มิลลิกรัม/หลอด
ยาซิมพาโทมิเมติคมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ด้วยในกลุ่มยาซิมพาโทมิเมติคมีหลายรายการ ขนาดรับประทานจึงขึ้นกับความเห็นของแพทย์ โดยต้องอาศัยข้อมูลของตัวผู้ป่วย (เช่น อาการ ความรุนแรงของอาการ อายุ น้ำหนักตัว โรคร่วมต่างๆ) รวมกับเลือกใช้ยาให้ตรงตามอาการและมีความปลอดภัยมากที่สุด ดังนั้นการรับประทานจึงต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาในกลู่มยาซิมพาโทมิเมติค ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาซิมพาโทมิเมติคอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาซิมพาโทมิเมติคสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า แต่การลืมรับประทานยาบ่อยๆหลายครั้ง อาจทำให้อาการโรคไม่ทุเลาหรือกลับทำให้อาการแย่ลง
ยาซิมพาโทมิเมติคมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยากลุ่มซิมพาโทมิเมติคสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง ) ดังนี้ เช่น ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เจ็บหน้าอก ชีพจรเต้นผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (อาการเช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ) วิตกกังวล วิงเวียน และหยุดหายใจ อาจถึงเสียชีวิต (ตาย) ได้
มีข้อควรระวังการใช้ยาซิมพาโทมิเมติคอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาซิมพาโทมิเมติคดังนี้
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยาในกลุ่มนี้
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ระวังการใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เด็ก และผู้สูงอายุ
- ระวังการใช้ยากับผู้ป่วยโรคต้อหิน ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดตีบตัน ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า
- การใช้ยาในกลุ่มซีเลคทีฟ เบต้า 2 เช่น Salmeterol ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดโรคหืดจนถึงขั้นเสียชีวิต (ตาย) ได้ ดังนั้น ขนาดการบริหารและระยะเวลาที่ใช้ยาต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาซิมพาโทมิเมติคด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และสมุนไพรต่างๆ เสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาซิมพาโทมิเมติคมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาซิมพาโทมิเมติคมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นดังนี้
- การใช้ยา Clonidine ร่วมกับยารักษาอาการซึมเศร้า เช่น Amitriptyline อาจทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก หน้าแดง วิงเวียน ปวดศีรษะ ชีพจรเต้นผิดปกติ หากจำเป็นต้องใช้ยาทั้ง 2 ตัวร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ Terbutaline ร่วมกับยาที่เพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้อย่างเช่น Cisa pride จะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจนอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยาได้ จึงควรเลี่ยงการใช้ยาทั้งคู่ร่วมกัน
- การใช้ Dobutamine ร่วมกับ Phenylpropranolamine(เลิกใช้แล้วในสหรัฐอเมริกา) สามารถทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจของผู้ใช้ยาเพิ่มสูงขึ้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมเป็นกรณีๆไป
- การใช้ Salmeterol ร่วมกับยารักษาอาการเจ็บหน้าอก จากภาวะหัวใจขาดเลือด (Angina) อาจเกิดภาวะการหายใจติดขัดหรือมีอาการหอบหืดอย่างรุนแรง เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าวจึงไม่ควรใช้ยาทั้ง 2 ตัวร่วมกัน
ควรเก็บรักษายาซิมพาโทมิเมติคอย่างไร?
สามารถเก็บยาซิมพาโทมิเมติคที่อุณหภูมิห้องหรือเก็บตามคำแนะนำของเอกสารกำกับยา เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อน และความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น และไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
ยาซิมพาโทมิเมติคมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาซิมพาโทมิเมติคที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าและบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Neo-Synephrine (นีโอ-ซินเอพรีน) | Sanofi-Synthelabo |
Phenylephrine HCl Silom Medical (ฟีนิลเอพรีน เฮชซีไอ สีลม เมดิคอล) | Silom Medical |
Hypodine (ไฮโพดีน) | Pharmasant Lab |
Dobutamine HCl in 5% Dextrose Baxter (โดบูทามีน เฮชซีไอ อิน 5% เด็กซ์โทรส แบ็กซ์เตอร์) | Baxter Healthcare |
Dobutamine Synthon (โดบูทามีน ซินทอน) | Synthon BV |
Dobutamine Hospira (โดบูทามีน ฮอสพิรา) | Hospira |
Dobutel (โดบูเทล) | Novell Pharma |
Cardiject (คาร์ดิเจค) | Sun Pharma |
Dobuject (โดบูเจค) | Bayer Schering Pharma Oy |
Dobutrex (โดบูเทร็กซ์) | Eli Lilly |
DBL Dobutamine (ดีบีแอล โดบูทามีน) | Hospira |
Dobutamine Antigen (โดบูทามีน แอนติเจน) | Goldshield Pharma |
Aerotamol 100 (แอโรทามอล) | Aerocare |
Asthamol (แอสทามอล) | Okasa Pharma |
Buto-Asma (บูโต-แอสมา) | Lab Aldo-Union |
Durasal-CR (ดูราซอล-ซีอาร์) | Raptakos |
Salbutamol Osoth (ซัลบูทามอล โอสถ) | Osoth Interlab |
Salvent (ซัลเวนท์) | Okasa Pharma |
Venterol (เวนเทอรอล) | Greater Pharma |
Violin (ไวโอลิน) | T. O. Chemicals |
Asmasal SDU (แอสมาซัล เอสดียู) | Silom Medical |
Bronchosol (บรอนโชโซล) | Siam Bheasach |
Buventol Easyhaler (บูเวนทอล อีซีเฮเลอร์) | Orion |
Salbutamol Inhalation CFC-Free (ซัลบูทามอล อินฮาเลชั่น ซีเอฟซี-ฟรี) | Jewim |
Salmol Syrup (ซัลมอล ไซรัป) | Biolab |
Sulbuta-N (ซัลบูทา-เอ็น) | L. B. S. |
Ventolin (เวนโทลิน) | GlaxoSmithKline |
Broncholine (บรอนโชลีน) | T. O. Chemicals |
Terbu Expectorant (เทอร์บู เอ็กซ์เป็กโทแรนท์) | Community Pharm PCL |
P-Canyl (พี-พานิล) | Osoth Interlab |
Terbutaline T.O. (เทอร์บูทาลีน ที.โอ.) | T. O. Chemicals |
Asmadon (แอสมาดอน) | Acdhon |
Asthmasian (แอสเมเซียน) | Asian Pharm |
B-lene (บี-เลน) | Patar Lab |
Bricanyl Turbuhaler (บริคานิล เทอร์บูฮาเลอร์) | AstraZeneca |
Bucanyl (บูคานิล) | Burapha |
Butalin (บูทาลิน) | Utopian |
Framagon (ฟรามากอน) | Bangkok Lab & Cosmetic |
Sulterline (ซัลเทอร์ลีน) | T P Drug |
Terbulin Chinta (เทอร์บูลิน ชินตา) | Chinta |
Terbusin (เทอร์บูซิน) | SSP Laboratories |
Vacanyl (วาคานิล) | Atlantic Lab |
Asmaline (แอสมาลีน) | Polipharm |
Asthmic (แอสมิกซ์) | T. Man Pharma |
Bricanyl (บริคานิล) | AstraZeneca |
Bronchonyl (บรอนโชนิล) | Pharmasant Lab |
Bucaril (บูคาริล) | Pharmaland |
Fasma (ฟาสมา) | Pharmahof |
Proasma-T (โพรแอสมา-ที) | Medicine Products |
Terbu (เทอร์บู) | Suphong Bhaesaj |
Terbuline (เทอร์บูลีน) | Charoen Bhaesaj Lab |
Terbutaline Sulfate GPO (เทอร์บูทาลีน ซัลเฟต จีพีโอ) | GPO |
บรรณานุกรม
- http://www.angelfire.com/art2/sensony/cldrugs.html [2018,Jan13]
- http://www.drugs.com/answers/what-are-the-effects-of-sympathomimetic-drugs-in-178122.html [2018,Jan13]
- http://www.drugs.com/answers/what-are-the-effects-of-sympathomimetic-drugs-in-178122.html [2018,Jan13]
- http://www.straighthealthcare.com/alpha-2-agonists.html [2018,Jan13]
- http://en.wikipedia.org/wiki/Beta-adrenergic_agonist#.CE.B21_agonists [2018,Jan13]
- http://en.wikipedia.org/wiki/Ephedrine#Mechanism_of_action [2018,Jan13]
- http://en.wikipedia.org/wiki/Dopamine [2018,Jan13]
- http://en.wikipedia.org/wiki/Phenylephrine [2018,Jan13]
- http://www.mims.com/usa/drug/info/clonidine/?type=full&mtype=generic#Actions [2018,Jan13]
- http://www.mims.com/USA/drug/info/Dobutamine%20Injection/?type=full [2018,Jan13]
- http://www.mims.com/USA/drug/info/salbutamol/?type=full&mtype=generic#Dosage [2018,Jan13]
- http://www.mims.com/USA/drug/info/dopamine/?type=full&mtype=generic#Dosage [2018,Jan13]
- http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Neo-Synephrine/ [2018,Jan13]
- http://www.mims.com/THAILAND/Home/GatewaySubscription/?generic=dobutamine [2018,Jan13]
- http://www.mims.com/THAILAND/Home/GatewaySubscription/?generic=salbutamol [2018,Jan13]
- http://www.mims.com/THAILAND/Home/GatewaySubscription/?generic=terbutaline [2018,Jan13]
- http://medical-dictionary.thefreedictionary.com/sympathomimetic [2018,Jan13]
- http://www.healthline.com/health/adrenergic-drugs#Purpose3 [2018,Jan13]
- http://en.wikipedia.org/wiki/Amphetamine#Contraindications [2018,Jan13]
- http://www.drugs.com/drug-interactions/clonidine.html [2018,Jan13]
- http://www.drugs.com/drug-interactions/acetaminophen-aspirin-phenylpropanolamine-with-dobutamine-16-0-919-0.html [2018,Jan13]
- http://www.drugs.com/drug-interactions/dopamine-index.html?filter=3&generic_only= [2018,Jan13]
- http://www.drugs.com/drug-interactions/corgard-with-salmeterol-1675-1038-2041-0.html [2018,Jan13]
- http://reference.medscape.com/drug/serevent-diskus-salmeterol-343445#5 [2018,Jan13]
- http://druginfosys.com/Drug.aspx?drugCode=261&drugName=Dopamine%20(HCl)&type=12 [2018,Jan13]
- https://medical-dictionary.thefreedictionary.com/sympathetic+amine [2018,Jan13]
Updated 2018, Jan13