จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 406 : การใช้แบบทดสอบ IQ ไปในทางที่ผิด (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 406 : การใช้แบบทดสอบ IQ ไปในทางที่ผิด (2)

ต่อมาได้มีนักจิตวิทยาชาวอเมริกันนามว่าโรเบิร์ต เยอร์คส์ (Robert Yerkes) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด (Harvard) ที่พัฒนาแบบทดสอบ ซึ่งสามารถจำแนกประเภทของผู้เข้าสอบเข้าเป็นทหาร ภายใต้แนวทางของเยอร์คส์ ทหารมากกว่า 1.75 ล้านนายในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต้องทำแบบทดสอบเชาว์ปัญญา (Intelligence quotient: IQ)

จากจำนวนผู้เข้าสอบที่มากมายทำให้เยอร์คส์ ได้ตั้งข้อสันนิษฐานหรือข้อสรุปออกมา 3 แนวคิด

เริ่มจาก 1. ยอร์คส์และทีมงาน ได้สรุปว่าค่าเฉลี่ยอายุสมองของผู้ใหญ่ชาวอเมริกันผิวขาวมีอายุน้อยกว่า 13 ปีซึ่งมากกว่าคำจำกัดความของคำว่า “ผู้บกพร่องทางปัญญาเพียงเล็กน้อย

สาเหตุที่ทำให้ผู้เข้าสอบมีค่าเฉลี่ยอายุสมองที่ต่ำ เพราะในช่วงนั้นไม่มีการคุมกำเนิดของคนยากไร้และผู้บกพร่องทางปัญญา นอกจากนี้สายเลือดของชาวผิวดำได้แพร่กระจายไปมากในยุคนั้น

ต่อมา 2. ยอร์คส์และทีมงาน ได้สรุปว่าชาวยุโรปที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามา สามารถถูกจัดลำดับของ IQ ได้จากประเทศที่พวกเขาย้ายมา ผู้คนจากยุโรปตะวันตกและทางเหนือของยุโรปเป็นกลุ่มคนที่มีความฉลาด ในขณะที่คนผิวดำ ที่มาจากยุโรปตอนใต้และพวกทาสจากยุโรปตะวันออกมีความฉลาดน้อยกว่า

สุดท้าย 3. ยอร์คส์และทีมงาน ได้สรุปว่าชาวผิวดำ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความฉลาดน้อยที่สุด ความเห็นของกลุ่มคนที่เหยียดสีผิวได้จัดทำหนังสือกราฟระฆังคว่ำ “The Bell Curve” ขึ้นมาใหม่เพื่อต่อยอดแนวคิดของยอร์คส์

ผลที่ตามมาคือแนวคิดจากคะแนนแบบทดสอบ IQ นี้ได้ถูกนำมาเป็นสิ่งที่ทำให้คนเหยียดเชื้อชาติ ทำให้ก่อเกิดความโกรธเคืองในข้อเท็จจริงนี้ว่า ชาวยุโรปที่มีความฉลาดน้อยได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในประเทศอเมริกา เนื่องจากในข้อกฎหมายของผู้อพยพเมื่อปี ค.ศ. 1924 สภานิติบัญญัติเชื่อถือในส่วนของลำดับชั้นเชื้อชาติที่ยอร์คส์ได้จัดทำเอาไว้ จึงได้จำกัดจำนวนผู้อพยพที่เข้ามาในประเทศอเมริกาอย่างเคร่งครัดในส่วนของคนที่มาจากยุโรปตอนใต้และตะวันออก

สตีเฟนเจย์ (Stephen Jay) นักวิวัฒนาการชีววิทยา (Evolutionary Biologist) ได้ทบทวนข้อมูลของเยอร์คส์และได้ชี้แจงปัญหาหรือข้อบกพร่องต่างๆ จากข้อมูลดังกล่าวว่า มีมาตราฐานการจัดการแบบทดสอบที่ต่ำ, สภาวะแวดล้อมการเข้าสอบไม่พร้อม, ไม่ได้มีมาตรฐานที่จะจำกัดผู้เข้าทำแบบทดสอบอีกครั้ง, ได้มีการให้ผู้ที่ไม่รู้หนังสือทำแบบทดสอบข้อเขียน (ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ผู้เข้าสอบได้รับคะแนนน้อย), และไม่มีการควบคุมระดับการศึกษาหรือระดับความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ

จากปัญหาที่กล่าวข้างต้นทำให้เกิดผลลัพธ์ว่า ข้อมูลของยอร์คส์ไม่มีความชัดเจนโดยมีข้อผิดพลาด เช่นไม่สามารถนำบทสรุปนี้มาใช้งานได้อ้างอิงจากเชื้อชาติที่แตกต่างกันและความฉลาดในแต่ละบุคคล

หากมองย้อนกลับไปทำให้เห็นภาพชัดเจนว่านักจิตวิทยาสมัยก่อนได้นำแบบทดสอบทาง IQ มาใช้ในทางที่ผิดโดยที่พวกเขาลืมไปว่าแบบทดสอบนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เข้าถึงความสามารถทางสติปัญญาได้อีกหลายด้าน และยังสามารถนำมาใช้เพื่อพิจารณาประเภทความสามารถของสติปัญญาได้อีกมากมาย

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik Rod.  (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence, February18].
  3. Robert Yerkes - https://en.wikipedia.org/wiki/Robert_Yerkes, February 18].