จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 39 : ก่อร่างสร้างสมอง (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

ลูกๆ ของไอน่า (Ina) มักจะเรียกเธอว่า “หินแกร่งแห่งยิบรอลต้าร์” (Rock of Gibraltar) เพราะเธอสามารถซ่อมท่อประปา (Plumbing) ปิดกระดาษกำแพง (Wall-paper) และเตรียมอาหารเย็นเต็มมื้อ (Full dinner) ทุกๆ คืน ที่เริ่มต้นจากไม่มีอะไรเลย (Scratch) ในขณะเดียวกันก็สามารถดูแลลูกๆ ทั้ง 6 คน มิให้ก่อปัญหา (Trouble)

เธอสามารถว่ายน้ำได้เร็วกว่าทุกคนในบ้าน เธอใฝ่ฝันที่จะเป็นผู้เล่นบาสเก็ตบอล และสามีผู้ล่วงลับไปแล้ว เรียกเธอว่า เป็นสตรีที่สวยที่สุดเท่าที่เคยพบเห็น แต่ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นก่อนที่เธอจะเริ่มหลงลืมสิ่งของและทำซ้ำซาก (Repeat) ซึ่งอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชราภาพ แต่จะอธิบายสิ่งที่เธอทำได้อย่างไร?

เธอทำความสะอาดพื้นในครัวเมื่อเวลาตีสอง โดยปฏิเสธที่จะเข้านอน เธอสวมใส่เสื้อผ้าชุดเดิมที่สกปรกวันแล้ววันเล่า ซึ่งเธอไม่เคยทำมาก่อนตลอดชีวิต หรือสับสนกับงานบ้าน หรือเข้าใจว่า หลานสาว (Grand3daughter) ของเธอนั้น คือลูกสาวของเธอเอง

เนื่องจากเธอมีสุขภาพแข็งแรงมาตลอด ลูกๆ ทั้ง 6 ซึ่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่กันหมดแล้ว จึงคิดว่า เธอน่าจะเป็นโรคซึมเศร้า (Depressed) หรือทนทุกข์ทรมานจากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) แต่เมื่อลูกๆ นำเธอไปตรวจสุขภาพ (Check-up) แพทย์ประสาทวิทยา (Neurologist) ก็ยืนยันสิ่งที่ลูกๆ กลัวกัน กล่าวคือ เธอเป็นโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s)

ประมาณ 10% ของผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ส เริ่มต้นหลังจากอายุได้ 50 ปี แต่ 90% ของผู้ป่วย เริ่มต้นหลังจากอายุได้ 65 ปี กลุ่มอาการเบื้องต้น (Initial symptoms) ของโรคนี้ ได้แก่ปัญหาความทรงจำ (Memory) อาทิ การหลงลืมสิ่งของและการทำซ้ำซาก การหลงทางและเริ่มสับสนบ้าง (Mild confusion)

นอกจากนี้ยังมีการรับรู้ที่บกพร่อง (Cognitive deficit) อาทิ ปัญหาทางภาษา ความลำบากในการจดจำ (Recognition) วัตถุ และความไม่สามารถวางแผนและจัดระเบียบงาน ในช่วงระยะเวลา 5 ถึง 10 ปี กลุ่มอาการเหล่านี้จะเลวร้ายลงเรื่อยๆ ส่งผลให้สูญเสียความทรงจำอย่างลึกซึ้ง (Profound)

ตัวอย่างเช่น การจดจำสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนฝูงไม่ได้ การเสื่อมถอย (Deterioration) ในบุคลิกภาพ และการระเบิดอารมณ์ (Emotional outburst) โดยที่สมองถูกทำลายอย่างแพร่กระจาย (Wide-spread) โดยเฉพาะส่วนความทรงจำ (Hippocampus) ปัจจุบัน ยังไม่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ และมักเอยด้วยการเสียชีวิต (Fatal)

ในสหรัฐเมริกา โรคนี้เป็นอันดับ 4 ของสาเหตุการถึงแก่ความตายของผู้ใหญ่ (Adult) ในปี พ.ศ. 2543 ประมาณ 4 ล้านคนหรือ 5% ของผู้ใหญ่ชาวอเมริกันที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป เป็นโรคอัลไซเมอร์ส และคาดว่าจำนวนผู้ป่วย จะสูงขึ้นเรื่อยจนถึง 10.2 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2593

เหตุผลที่โรคอัลไซเมอร์สค่อยๆ ทำลายความทรงจำ บุคลิกภาพ และความเป็นมนุษย์ (Humanity) ก็คือการแตกสลาย (Break down) ของส่วนที่ประกอบขึ้น (Building block) เป็นเครือข่ายข้อมูล (Information network) ของสมอง

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.

2. Brain - https://en.wikipedia.org/wiki/Brainy [2015, January 9].