จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 389: - 2 คุณสมบัติของแบบทดสอบทางไอคิว (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 23 ตุลาคม 2565
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 389: - 2 คุณสมบัติของแบบทดสอบทางไอคิว (1)
บรรดาผู้ที่เชื่อการวิเคราะห์ลายมือเขียน (Hand-writing analysis) อาจมีคำถามกันว่า ระดับสติปัญญาและลักษณะเฉพาะบุคคล สามารถบ่งบอกผ่านการวิเคราะห์ลายมือได้หรือไม่ และอย่างไร
แม้ว่าการวิเคราะห์ลายมือเขียน อาจอ้างอิงถึงการวัดค่าทางสติปัญญา แต่นักวิจัยแสดงให้เห็นว่าความแม่นยำของหมอดูลายเขียน อาจถูกต้องเป็นบางครั้ง แต่ก็ไม่ต่างอะไรกับการคาดเดาดีๆ นี่เอง
การวิเคราะห์ลายมือ เพื่อใช้เป็นแบบทดสอบทางไอคิว (IQ Test) อย่างที่อาจเห็นอย่างแพร่หลายในนิตยสาร เป็นการวัดค่าระดับสติปัญญาที่ไม่แม่นยำ เพราะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งจาก 2 ลักษณะความสำคัญที่แบบทดสอบที่ดีควรมี
2 ลักษณะดังกล่าว ก็คือควรมีเหตุและผล (Validity) และความน่าเชื่อถือ (Reliability) ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกความแตกต่างระหว่างแบบทดสอบทางไอคิวที่แม่นยำ (WAIS-III) และแบบทดสอบที่ไม่แม่นยำ (การวิเคราะห์ลายมือเขียน)
การวิเคราะห์ลายมือเขียนเป็นเรื่องที่สนุก แต่เป็นแบบทดสอบที่ไม่มีความแม่นยำ เนื่องจากมันยังขาดเรื่องของเหตุและผล ซึ่งเป็นสิ่งที่แบบทดสอบที่ดีควรจะมี
เหตุและผลคือการวัดค่าตัวแปรที่ถูกต้อง เพื่อนำมาใช้ในการให้คะแนนข้อสอบ แม้ว่าความหมายของเหตุและผลอาจฟังดูสั้นและง่าย แต่ลักษณะของสิ่งนี้สามารถสร้างหรือทำลายแบบทดสอบนั้นได้
ยกตัวอย่างเช่น มีการศึกษามากมายที่แสดงให้เห็นว่าการวิเคราะห์ลายมือเขียน มีลักษณะของเหตุและผลเพียงเล็กน้อย ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาหรือลักษณะนิสัยของคนเรา
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การวิเคราะห์ลายมือเขียน ขาดลักษณะทางเหตุและผล หมายความว่าแบบทดสอบประเภทนี้ไม่มีความแม่นยำในการวัดค่าตัวแปรที่ควรจะวัด
ดังนั้นแบบทดสอบที่ขาดเรื่องเหตุและผล จะสร้างผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการคาดเดา เหตุผลที่การวิเคราะห์ลายมือเขียน หรือแบบทดสอบที่เห็นกันอย่างแพร่หลายในนิตยสารไม่มีการตรวจสอบในเรื่องของเหตุและผล เพราะการตรวจสอบในลักษณะนี้ต้องใช้เวลาและเงินมากมาย รวมถึงกระบวนการหลายขั้นตอน
วิธีหนึ่งที่สามารถใช้ตรวจสอบความมีเหตุและผลของแบบทดสอบได้ก็คือ การนำข้อสอบใหม่ไปให้ผู้เข้าทดลองจำนวน 100 คน โดยให้ทำควบคู่ไปกับแบบทดสอบที่ถูกยอมรับว่ามีการใช้เหตุและผลในการทำ
ต่อมาผู้เข้าทดลองจะทำคะแนนในแบบทดสอบใหม่และดูความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่พวกเขาได้รับจากแบบทดสอบใหม่และแบบทดสอบที่ได้รับการยอมรับว่ามีการใช้เหตุและผล
อีกวิธีหนึ่ง ที่คือการอิงตัวอย่างจากข้อสอบ WAIS-III โดยแสดงให้เห็นว่าคะแนนไอคิวที่ได้รับมีความเกี่ยวโยงกับการวัดค่าความสามารถทางสติปัญญาอื่นๆ เช่น ประสิทธิภาพ (Performance) ทางด้านการศึกษา
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2022 October, 22].
- David Wechsler - https://en.wikipedia.org/wiki/David_Wechsler [2022, October 22].