จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 388: - ตัวอย่างของแบบทดสอบไอคิว (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 388: - ตัวอย่างของแบบทดสอบไอคิว (2)

ของสติปัญญามีหลายประเภท เช่น ความสามารถทางด้านการปฏิบัติ, ทางด้านอารมณ์, ทางด้านสังคม, และทางด้านจินตนาการ ทุกสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญเท่ากันที่จะเอื้ออำนวยให้คนเราเราประสบความสำเร็จในชีวิต

แบบทดสอบทางด้านสติปัญญา (IQ Test) มี 2 แบบที่เรียกว่าเวอิส (WAIS-III) สำหรับการวัดค่าสติปัญญาในผู้ใหญ่ และวิสซ์ (WISC-III) สำหรับการวัดค่าสติปัญญาในเด็ก

แบบทดสอบทั้ง 2 แบบ มีการจัดเรียงรายการในหมวดหมู่ต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น  หมวดแรกเป็นส่วนรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ต่อมาเป็นหมวดหมู่ด้านคำศัพท์และอื่นๆ

ในส่วนที่จะบ่งชี้ประสิทธิภาพของบุคคลนั้นๆ รวบรวมอยู่ในหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเรียงรูปภาพให้เป็นลำดับอย่างมีนัยสำคัญ

การจัดเรียงรูปภาพนี้จำเป็นต้องเรียงรูปภาพของสิ่งของต่างๆ ให้เหมาะสม และในบางกรณีสีของภาพแสดงถึงรหัสในการเรียงลำดับอีกด้วย

คะแนนในส่วนของการพูดและการวัดประสิทธิภาพจ ะถูกนำมารวมกันเพื่อสรุปเป็นผลลัพธ์ของคะแนนแบบทดสอบไอคิว ยกตัวอย่างเช่น ผู้เข้าสอบ WISC-III ในหมวดหมู่ของการพูดจะเน้นย้ำทักษะทางด้านภาษาและทักษะทางด้านการพูด

การเน้นย้ำทักษะทางด้านภาษา อาจส่งผลต่อผู้คนที่มาจากสภาพแวดล้อมที่ห่างไกล หรือผู้คนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 โดยอาจมีความลำบากในการทำข้อสอบ ส่วนทักษะการพูด ก็เช่นเดียวกัน เพราะพวกเขามีความรู้ทางด้านภาษาน้อยซึ่งอาจไม่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางสติปัญญา

ในการวัดค่าทางสติปัญญาของหมวดหมู่ความสามารถ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพูดและไม่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมหรือระดับการศึกษาของแต่ละบุคคล เวชส์เลอร์ได้เพิ่มหมวดหมู่ของการวัดค่าทางประสิทธิภาพของบุคคล

หมวดหมู่การวัดค่าประสิทธิภาพของบุคคล วัดค่าเกี่ยวกับความสามารถในด้านการแก้ไขปัญหาซึ่งจำเป็นต้องมีการเพ่งความสนใจและการใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจโดยอาจมีความลำบากสำหรับผู้เข้าสอบที่มีความตื่นเต้นสูง, คนที่ไม่มีประสบการณ์ในสนามสอบ, หรือผู้ที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์

แม้ว่าแบบทดสอบดังกล่าวต้องการวัดค่าสติปัญญาในด้านการพูดและความสามารถด้านอื่น แต่ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าส่วนหนึ่งของบุคคลที่สามารถทำคะแนนสอบได้ดี มักขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับสติปัญญาเช่น วัฒนธรรม, การศึกษา, หรือปัจจัยทางอารมณ์

สาเหตุที่แบบทดสอบดังกล่าวไว้ข้างต้น ได้รับการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ก็เพราะเป็นแบบทดสอบที่มีความเป็นเหตุและผลต่อกัน และมีความน่าเชื่อถือ

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2022 October, 15].
  3. David Wechsler - https://en.wikipedia.org/wiki/David_Wechsler [2022, October 15].