จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 387: - ตัวอย่างของแบบทดสอบไอคิว (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 9 ตุลาคม 2565
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 387: - ตัวอย่างของแบบทดสอบไอคิว (1)
อันที่จริง แบบทดสอบที่คิดค้นโดยเทอร์แมน (Terman) ได้ใช้สมการโดยอิงจากแนวคิดของแบบทดสอบทางสติปัญญาของบีเนต์ (Binet) เพื่อใช้ในการวัดค่าสติปัญญาในตัวมนุษย์
แต่ทุกวันนี้ได้มีการทดแทนแบบทดสอบทางไอคิว ด้วยแบบการเบี่ยงเบนตัวหารทางสติปัญญา (Deviation IQ) ซึ่งเป็นสิ่งที่ซับซ้อน แต่สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงจากอัตราส่วนตัวหารทางสติปัญญาไป เพราะมีความแม่นยำมากกว่า เมื่อเด็กเติบโตและอายุมากขึ้น
ต่อมา นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเชื้อสายโรมาเนียนามว่า เวชสเลอร์ (Wechsler) ได้วิวัฒนาการวัดค่าสติปัญญาที่มีอยู่ในตัวคนเรา เป็นมาตราส่วน (Scale)
หลายคนให้ความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับผลหารของค่าสติปัญญาหรือไอคิว (IQ) เพราะพวกเขาเชื่อว่าผลคะแนนที่ผู้สอบได้รับ จะชี้ให้เห็นถึงความสามารถทางสติปัญญาของบุคคลนั้นๆ
ยกตัวอย่าง หากคนเราพยายามเชื่อมโยงระหว่างคะแนนจากผลสอบไอคิว เช่น 104, 114, และ 228 จาก 3 บุคคลที่โด่งดังตามลำดับ จอห์น เอฟ เคเนดี้ (John F. Kennedy) ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา, เจ ดี ซาลิงเกอร์ (J.D. Salinger) นักเขียนนิยายชื่อดัง, และ มาริลิน วอส ซาวันต์ (Marilyn Vos Savant) นักเขียนคอลัมน์หนังสือพิมพ์
จากบุคคลโด่งดังที่กล่าวไว้ข้างต้นพบว่าคะแนนแบบทดสอบทางไอคิวของพวกเขาบ่งชี้ให้เห็นถึงความสามารถทางสติปัญญา (Cognitive Abilities) แต่ละคน แต่ยังมีนักจิตวิทยาบางคนเชื่อว่าความสามารถทางสติปัญญาแสดงให้เห็นเพียงแค่ 1 ประเภทของสติปัญญา
ยกตัวอย่าง พวกเราอาจมีคำถามเกิดขึ้นระหว่างซาลิงเกอร์ ผู้มีค่าเฉลี่ยไอคิวสูงกว่าบุคคลทั่วไป (114) เพื่อเขียนนวนิยายที่ต้องใช้จินตนาการล้ำเลิศ หรือเคเนดี้ บุคคลที่มีค่าเฉลี่ยไอคิวมากกว่าบุคคลทั่วไปเพียงเล็กน้อย104 แม้ว่าเขาเป็นประธานาธิบดีที่หลายคนเชื่อว่า มีความทรงจำที่ดีเลิศ
จากข้อสงสัยข้างต้นและความสำเร็จทางด้านการงานของทั้งคู่ ไม่ได้เป็นสิ่งบ่งชี้ระหว่างคนที่มีระดับไอคิวสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไป และคนที่มีระดับไอคิวสูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย ทำให้เห็นว่ายังมีสติปัญญาในด้านอื่น เช่น ด้านอารมณ์, ด้านสังคม, ด้านการปฏิบัติ, และด้านจินตนาการ โดยสิ่งเหล่านี้มีคุณค่าเท่ากันและแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในชีวิตการงานของคน
แบบทดสอบทางไอคิวที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คือแบบทดสอบทางสติปัญญาในผู้ใหญ่ของเวชสเลอร์ (Wechsler Adult Intelligence Scale: WAIS-III) ซึ่งใช้กับบุคคลที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป และอีกแบบทดสอบคือแบบทดสอบทางสติปัญญาในเด็ก (WISC-III) [C = Children] อันใช้สำหรับเด็กอายุระหว่าง 3 - 16 ปี
แบบทดสอบทั้ง 2 แบบนี้จะมีการฝึกฝนผู้คุมสอบ เพื่อใช้แบบทดสอบนี้ เพราะเป็นการทดสอบแบบ 1 ต่อ 1 ระหว่างครูผู้สอบและนักเรียนผู้เข้าสอบ
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2022 October 8].
- Lewis Terman - https://en.wikipedia.org/wiki/Lewis_Terman [2022, October 8].
- David Wechsler - https://en.wikipedia.org/wiki/David_Wechsler [2022, October 8].