จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 384: - การวัดค่าของความอัจฉริยะภาพ (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 18 กันยายน 2565
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 384: - การวัดค่าของความอัจฉริยะภาพ (2)
นักวิจัยสมัยก่อนได้ต่อต้านที่จะยอมแพ้ เกี่ยวกับแนวคิดที่ว่าการมีสมองขนาดที่ใหญ่เป็นเรื่องที่ดีกว่า โดยพวกเขาได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างขนาดสมองและความสำเร็จของบุคคล เพื่อเป็นตัววัดค่าความอัจฉริยะ
อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างอย่างมหาศาล ระหว่างขนาดของสมองและสำเร็จของบุคคลนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่นสมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์ (Albert Einstein) มีน้ำหนัก 1,230 กรัม ซึ่งเบากว่าน้ำหนักค่าเฉลี่ย (1,350 กรัม) เพียงเล็กน้อย
และต่อมานักเขียนและกวีเอกอีก 2 ท่านคือ วอล์ต วิตแมน (Walt Whitman) มีน้ำหนักสมองอยู่ที่ 1,200 กรัมและ อนาโทว์ แฟรนซ์ (Anatole France) มีน้ำหนักสมอง 1,000 กรัม ทั้งคู่เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จด้านงานเขียน
อย่างไรก็ตาม เขาทั้งสองมีน้ำหนักสมองน้อยกว่าครึ่งของ โจนาธาน สวิฟต์ (Jonathan Swift) ผู้ชายที่ถูกบันทึกว่า มีสมองที่หนักที่สุดในโลก กล่าวคือ 2,000 กรัม
ในทางเดียวกัน น้ำหนักสมองของลิงกอริลลา (Gorilla) มีน้ำหนักเพียง 500 กรัม ซึ่งเป็นขนาดที่เล็กมากหากเปรียบเทียบกับส่วนศีรษะของมัน
เป็นเรื่องยาก หากนักวิจัยต้องการทดสอบความฉลาดของลิงกอริลลา แต่มีรายงานแจ้งว่ามีลิงกอริลลาตัวหนึ่ง สามารถเรียนรู้คำศัพท์ภาษามือได้ถึง 800 คำ
นักวิจัยยังมีความเชื่ออีกว่าเป็นเรื่องดีกว่าหากคนเรามีขนาดสมองที่ใหญ่กว่า นักวิจัยบางท่านกล่าวว่าผู้หญิงจะทำแบบทดสอบ IQ (= Intelligence quotient) ได้คะแนนน้อยกว่าผู้ชายเพราะน้ำหนักของสมองเพศหญิงเบากว่าเพศชายถึง 10%
อย่างไรก็ตาม การศึกษางานวิจัยปัจจุบันในผู้หญิง 4,000 คนและผู้ชาย 6,000 คน รายงานว่ามีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่มีความแตกต่างใดเลย เกี่ยวกับความอัจฉริยะ (คะแนนข้อสอบ IQ) ระหว่างเพศชายและเพศหญิง
นักวิจัยสรุปว่าการที่เพศชายมีขนาดสมองที่ใหญ่กว่าเพศหญิง ไม่ได้ส่งผลให้มีค่า IQ มากกว่า
อย่างที่ทราบกันในประวัติศาสตร์ มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านพยายามที่จะวัดค่าความอัจฉริยะที่มีในตัวคนเรา โดยการทดลองที่ล้มเหลวแล้วล้มเหลวอีกในอดีต อันเกิดขึ้นจากการใช้ขนาดของศีรษะ, กะโหลก, ร่างกาย, หรือสมองเพื่อใช้เป็นตัววัดค่าความฉลาด
ในความเป็นจริงงานวิจัยในปี ค.ศ. 1904 นิตยสารสังคมจิตวิทยาของเยอรมัน (German Psychological Society) สรุปว่ามีความหวังเพียงเล็กน้อย ที่จะพัฒนาแบบทดสอบทางจิตวิทยา เพื่อวัดค่าความฉลาดในแนวทางที่มีจุดประสงค์
แต่สิ่งที่น่าสนใจของงานวิจัยข้างต้นก็คือ หนึ่งในผู้เขียนบทความนามว่า อัลเฟรด บีเนต์ (Alfred Binet) คือคนแรกที่พัฒนาแบบทดสอบทาง IQ ที่เราใช้กันอยู่มาถึงปัจจุบัน
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2022, September 17].
- Alfred Binet - https://en.wikipedia.org/wiki/Alfred_Binet [2022, September 17].